ได้ ถ้าหากรายได้จากงานประจำไม่เกินค่าครองชีพขั้นต่ำ
– ขอเงินสงเคราะห์จากเบอลาสติ้งดีน เช่น zorgtoeslag และ huurtoeslag – ขอเงินสงเคราะห์(toeslag) สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าครองชีพขั้นต่ำ ได้ที่ UWV – ขอเงินช่วยเหลือด้านสังคม bijstandsuitkering หรือมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ได้จากเทศบาล(gemeente) ที่ตนอาศัยอยู่ – ตรวจสอบว่าเรามีสิทธิ์หรือเข้าข่ายว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการอื่นๆ อีกหรือไม่ ได้ที่ลิ้งค์ https://www.nibud.nl/consumenten/berekenuwrecht/
ทำได้ หากในสัญญามีการระบุ การตกลงร่วมกันว่า ด้วยเรื่อง Loonuitsluitingsbeding กล่าวคือถ้าหากในช่วง 6 เดือนแรกของสัญญา พนักงานไม่มีชั่วโมงทำงาน นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเดือน และเรายังอยู่ในช่วง 6 เดือนของสัญญานี้
(เนื่องจากเป็นภาวะวิกฤต) ถ้ามีการตกลงร่วมกันและได้รับการยินยอมจาก ลูกจ้าง ก็สามารถทำได้
หากมีสัญญาแบบ o uur contract หรือ Oproepcontract จะได้รับค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงเฉลี่ยจากชั่วโมงทำงาน 3 เดือน ย้อนหลัง (คำนวณง่ายๆ ด้วยการ นำจำนวนที่เคยทำงานในสลิปเงินเดือนสามเดือนย้อนหลังมาบวกกันแล้วหารด้วย 3)
ผู้ที่ทำงานในรูปแบบ Opting in ไม่สามารถเรียกร้องค่าจ้างจากเจ้าของร้านได้ในช่วงที่มีการสั่งปิดกิจการ เพราะผู้ที่ทำงานในรูปแบบนี้ไม่ถือเป็น “ลูกจ้างผู้ประกันตน” ตามกฎหมายแรงงาน และการหักเก็บภาษีจากรายได้ตอนทำงานนั้น ไม่ได้หักเก็บเบี้ยประกันตน เช่น ประกันการถูกเลิกจ้าง ประกันการตกงาน ประกันการเจ็บป่วย ฯลฯ **และเจ้าของร้านก็ไม่สามารถขอใช้ NOW ได้**
ส่งจดหมายขอให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนตามสิทธิ์ ที่ตนเองควรจะได้รับตามเงื่อนไขสัญญา
ในเดือนพฤษภาคม และช้าที่สุดไม่เกิน 1 กรกฎาคม หากไม่สามารถจ่ายได้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดนี้ นายจ้างจะต้องทำการแจ้งพนักงานเป็นลายลักษณ์อักษร ว่าต้องการแบ่งจ่ายเป็นงวดหรือจ่ายช้ากว่าหนด และจะต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้างเท่านั้นจึงจะทำได้
ถ้าเรามีรายได้น้อยลงเพราะถูกเลิกจ้าง จะต้องรีบแจ้งเปลี่ยนแปลงรายได้ต่อเบลอาสติ้งดีน เพราะเมื่อรายได้น้อยลง เราก็มีสิทธิ์ได้รับเงิน Kinderopvangtoeslag สูงขึ้น ส่วนต่างที่เป็นยอด Eigen bijdragen ก็จะได้น้อยลง [ถ้าถูกเลิกจ้าง เราจะยังมีสิทธิ์ได้เงิน kinderopvangtoeslag อยู่อีก 3 เดือน หลังจากนั้น จะหมดสิทธ์ ซึ่งมีผลต่อ eigen bijdragen นี้ด้วย]
ลูกจ้างจะปฎิเสธได้ก็ต่อเมื่อมีสิ่งที่แสดงได้ชัดว่า สถานที่ทำงานนั้นมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เพื่อนร่วมงานป่วยแต่ยังมาทำงาน หรือนายจ้างไม่ได้มีมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในที่ทำงาน
- 1
- 2