สองคำนี้มีความหมายเหมือนกันก็คือเข้าใจ อ้าว แล้วทีนี้เราจะใช้ยังไงคำใหนดีล่ะ อย่าพึ่งปวดขมับนะคะ เดี๋ยวจะอธิบายและยกตัวอย่างให้ดูค่ะ มาดูกันว่าจะใช้ยังไงแล้วให้คนฟังเข้าใจเราแบบที่ควรจะเข้าใจตามแบบที่คนดัตท์ใช้
สวัสดีค่ะ บทความนี้เขียนตอนเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิมาจนถึงกลางฤดูแล้ว เรามารู้จักกับคำต่างๆ ที่วนเวียนกับฤดูกาลนี้กันค่ะ
de lente ฤดูใบไม้ผลิ หนึ่งในสี่ฤดู ที่นี่จะไม่มีฤดูฝน เหมือนทางบ้านเรา แต่ฝนหนักๆ แบบฝนไล่ช้างจะตกในฤดูร้อนค่ะ บางครั้งก็จะเรียกด้วยคำที่มีความหมายเดียวกันว่า het voorjaar ค่ะ
เมื่อเราเข้ามาอยู่ฮอลแลนด์สิ่งที่ทุกคนจะต้องคำนึงถึงให้มากก็คือการปฏิบัติตามกฎในเรื่องการเรียนภาษาและสอบให้ผ่านภายในระยะเวลาที่รัฐบาลกำหนดไว้ให้ นั่นก็คือ 3 ปี (ข้อมูล ณ ปี 2020) เพื่อป้องกันการที่เราจะต้องมานั่งเสียค่าปรับให้กับทางราชการ ทีนี้เราจะมาดูกันว่ากฎที่ว่าต้องเสียน่ะ เสียเท่าไหร่ อะไรยังไงนะคะ หากเรายังสอบไม่ผ่านภายในระยะเวลาดังกล่าวเราจะได้รับจดหมายจาก ดูโอ(DUO) ซึ่งเรียกจดหมายนี้ว่า Vooraankondiging termijnoverschrijding ในจดหมายจะแจ้งว่า เราจะต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนเท่าไรหากเราไม่ได้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการเรียนและการสอบให้ผ่าน และหากเราไม่ตอบกลับจดหมายนี้ เพื่อชี้แจงหรือโต้แย้ง ค่าปรับที่กำหนดนั้นก็จะเป็นค่าปรับที่เราจะต้องจ่ายจริงๆ ซึ่งในขั้นนี้ คุณจะได้รับจดหมายยืนยัน ( Boetebeschikking) ว่าจะต้องเสียค่าปรับเท่าไร และมีขั้นตอนการดำเนินการให้อย่างเรียบร้อย ที่สำคัญ หากคุณได้รับจดหมายยืนยันการเสียค่าปรับและดำเนินการเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นคุณจะมีเวลาเพิ่มอีก 2 ปีในการที่จะสอบให้ได้ใบประกาศ ในกรณีที่คุณมีเหตุผลที่ดีก่อนที่จะมีจดหมายยืนยันแน่นอน คุณอาจได้รับการยืดเวลาออกไปเพื่อจะไม่ต้องเสียค่าปรับตรงนั้น ซึ่งได้แก่ 1. คุณกำลังเรียนต่อในภาคภาษาดัตท์ 2. เมื่อคุณได้รับใบประกาศ จบคอร์ส 3. เวลาที่ทางดูโอเลื่อนให้มีอายุ 6 เดือน แต่จะอย่างไรก็ตามกฎทุกกฏมีข้อยกเว้น หากคุณกำลังศึกษาอยู่ก็สามารถติดต่อดูโอได้ตลอดเวลา มูลค่าของค่าปรับ ทีนี้เราจะมาดูกันว่ามูลค่าของค่าปรับว่าจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง 1. จำนวนชั่วโมงของคอร์สเรียนภาษาที่เราลงเรียนกับโรงเรียนที่มีชื่อใน Blik op Wer-keurmerk ไม่ว่าจะเป็น […]
วันนี้เสนอหลักการแต่งประโยคที่ซับซ้อนขึ้น ถ้ารู้หลักนี้แล้วทำข้อสอบการเขียนได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ นั่นคือ มาทำความรู้จักคำที่เราใช้ในการเชื่อมประโยคกันค่ะ คำนี้ภาษาไทยเรียกว่าคำสันธาน Voegwoord มันจะเชื่อมประโยค hoofdzin เข้าด้วยกัน เป็นแบบที่เรียกว่า ประโยคความรวม Hoofdzin คือประโยคหลัก ที่ตัวมันเองมีทั้งประธาน และกริยาที่ต้องผัน ที่เรียกว่า persoonsvorm เป็นของตัวเอง คำเชื่อมสำหรับประโยคความรวม ก้อจะทำการรวม hoofdzin อย่างน้อยสองประโยคเข้าด้วยกัน ด้วยคำว่า En เมื่อจะรวมสองประโยคที่เกิดขึ้นด้วยกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน Ik ben aan het koken en mijn man is aan het douchen. Maar เมื่อจะรวมสองประโยคที่เกิดด้วยกัน แต่ไปกันคนละทาง มีข้อความที่ย้อนแย้ง ขัดกัน Ik hou niet van camperen maar mijn kinderen wil het graag. Of […]
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงนะคะ ลมแรง ฝนตก อุณหภูมิลดลง และทำให้ร่างกายอ่อนแอไม่สบายได้ง่าย วันนี้มีคำบอกอาการต่างๆ สำหรับคนป่วยค่ะ บางอย่างอาจจะไม่แปลแล้วตรงกับไทยเป๊ะๆ แต่ทำให้เราสามารถอธิบายความเจ็บปวดกับหมอบ้านได้สะดวกขึ้นค่ะ มาเริ่มจากปากและคอการไอ hoestenไอแห้งๆ drooghoestไอแบบคันคอ Kriebelhoest, prikkelhoest ไอจากความระคายคอไอมีเสมหะ slijmhoestไอแบบมีเสมหะเหนียวๆ ติดแน่นvastzittendehoest บางครั้งเราไม่ไอ แต่เจ็บในลำคอเจ็บคอ keel pijn hebbenอักเสบปวดบวมในลำคอ keelontstekingกลืนน้ำลายแล้วเจ็บ moeite met slikken มาถึงส่วนของจมูกบ้างน้ำมูกไหล loopneusคัดจมูก neusverstoppingอาการแพ้ allergie อาจจะไม่แค่จาม แต่อาจจะมีอาการอื่นๆ ด้วยเช่นผื่น คันตา น้ำมูกไหลน้ามูกไหล หรือแพ้เมล็ดหญ้า หรือเกสรดอกไม้ มักจะเป็นตามฤดู hooikoortsจาม niezenจามติดกันหนักๆ niesbui(en)ไซนัสอักเสบ neusbijholteontsteking ทีนี้มาส่วนของความปวดหัว มึนหัวปวดหัว hoofdpijn hebbenปวดไมเกรน Migraine hebben อาจจะปวดช่วงขมับ เบ้าตาด้วย มึนหัว duizelijkheid , zich duizelijk […]
Er เป็นสรรพนามที่คนที่เรียนภาษาอื่นมาแล้ว มาบ่นภาษาดัตช์กันทุกคนเลย วันนี้มีวิธีการใช้ มาแนะนำค่ะ ภาคแรก : เอามาตั้งต้นประโยคค่ะ ที่แปลว่า “มี” อะไรอยู่ Er is een pluisje op je haar. มีปุยๆ ติดอยู่บนผมเธอ Er staat een paard in de gang bij juffrouw Jansen. มาจากเพลงคาร์นาฟัลเพลงนึง มีม้ายืนอยู่ในทางเดินที่บ้านมาดามยันเซิ่น Er ligt een kat op het dak. มีแมวตัวนึงนอนอยู่บนหลังคา ตัวมันเอง Er + กริยาใดๆ แปลว่า มีประธานใดๆ ทำกริยานั้นๆอยู่ เวลาเราอยากจะแต่งประโยคแบบนี้ เราต้องมาคิดก่อน ว่าเราต้องการพูดว่ามีอะไร เช่นเราอยากจะบอกแฟนว่า “มีขนมเค้กอยู่ในตู้เย็น” เราคิดประโยค ขนมเค้ก อยู่ […]
สวัสดีค่ะ ในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความเครียดนี้ ลี่ก็ไม่อยากให้มันเต็มแน่นอัดไปในหัวทุกๆคน จนลืมที่จะนึกถึงว่า เวลาจะเดินทางไปเรื่อยๆ และในปีนี้ ก็จะมีวันหยุดที่กำลังจะเข้ามาใกล้แล้วค่ะ และถึงแม้มันจะไม่ได้พิเศษอะไร เพราะหลายคนก็หยุดอยู่กับบ้านอยู่แล้ว มันก็ยังเป็นเวลาดีๆ ที่เราจะส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดีให้กันและกัน ตามธรรมเนียมของเนเธอร์แลนด์คะ เทศกาลต่างๆ ในเนเธอร์แลนด์จะประกอบไปด้วยหลักๆ แยกได้ตามความเป็นทางการของมันก็คือ วันหยุดทางราชการ Wettelijke feestdagen วันหยุดทางราชการ คือวันที่ทุกคนจะได้สิทธิได้รับเงินเดือน แม้จะไม่ต้องไปทำงาน และในหลายๆวัน จะเป็นวันหยุดที่เกี่ยวข้องกับศาสนาค่ะ วันแรกผ่านไปเมื่อต้นปีนี้เอง วันปีใหม่ค่ะ Nieuwjaar Woensdag, 1 Januari 2020 และที่เพิ่งผ่านไป เทศกาล Pasen หรืออีสเตอร์ค่ะ เป็นเทศกาลของศาสนาคริสต์เพื่อเฉลิมฉลองการฟื้นขึ้นมาของพระเยซู คริสตศาสนิกชนแทบทุกนิกายจะฉลองกันในช่วงนี้ เป็นชุดของวันคือ Goede vrijdag Vrijdag, 10 April 2020 Pasen Zondag, 12 April 2020 Paasmaandag Maandag, 13 April 2020 ซึ่งปีนี้ตรงกับช่วงสงกรานต์ […]
เรียนภาษาดัตช์กับ Smiley การจะร่วมสนทนากับคนดัตช์นั้น หลายคนไม่กล้า กลัว เพราะตัวเองรู้ไวยากรณ์น้อยเหลือเกิน ลี่อยากบอกว่า ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องหลักภาษาเลยค่ะ เรามาเรียนแบบเร่งรัด ด้วยวิธีการจำประโยคต่าง ๆ สำนวนในการคุยได้เลย ขอแนะนำตามนี้ การทักทายในเนเธอร์แลนด์ สำหรับคนที่ไม่รู้จักมักคุ้น จะใช้การจับมือเขย่า handgeven ฮันท์ เค้ฟเฟิ่น ได้สำหรับทุกเพศ ส่วนการชนแก้มสามครั้ง หรือหอมแก้ม (พร้อมทำเสียงจุ๊บด้วย) นั้น จะใช้ได้สำหรับเพศหญิงด้วยกัน หญิงและชาย สำหรับในเพศชายด้วยกันนั้นไม่เป็นที่นิยม นอก จากสมาชิกในครอบครัวที่สนิทสนม หรือกลุ่มเพื่อนซี้ หรือแฟนกัน การสวัสดี หวัดดี Hoi โห้ย (ไม่อ่าน หนำย แต่ออกเสียงเหมือนโหยในคำว่าหิวโหย) สำหรับคนรู้จักมักจี่กัน สวัสดี Goedendag คู้ดเดิ้นดัค ใช้ได้ตลอดทั้งวัน ไม่จำกัดเวลา อรุณสวัสดิ์ Goede morgen คู้ดเด่อะ ม๊อร์เคิ่น สวัสดีตอนกลางวัน (ตั้งแต่หลังเที่ยงไป) Goede middag คู้ดเด่อะ มิดดัค […]
เรียนภาษาดัตช์กับ Smiley สวัสดีค่ะ หลายคนอาจจะคุ้นสำนวนและฝีปากลี่กันมาแล้ว วันนี้ได้รับหน้าที้ให้มาเขียนบทความสำหรับนักเรียนภาษาดัตช์ ลี่ก็เลยเลือกเอาหัวข้อที่ตัวเองมีปัญหาสมัยเรียนมันคือวิธีการทำให้ประโยคบอกเล่าเดิมกลายเป็นการปฏิเสธ มีหลักในการสร้างประโยค แบบเดียวกับประโยคความเดียวนั่นเอง เพียงแต่เพิ่มคำแสดงความเป็นปฏิเสธเข้ามาซึ่งก็คือคำว่า niet (นี้ท) เอาแบบง่ายที่สุดก่อน เมื่อในประโยคมีแต่ประธาน กับกริยา ไม่มีกรรม niet จะตาม หลังคำกริยาแท้(กริยาที่มีการผัน)เสมอ ” ให้คุณรู้เพียงว่าตัวไหนคือกริยาแท้ แล้วใส่คำว่า niet เข้าไปหลังกริยาตัวนั้นๆส่วนคำอื่นๆ ก็ปล่อยมันไว้ดังเดิม “ ตัวอย่าง Hij slaapt niet. เขาไม่หลับไม่นอน Oma gaat niet mee. ยายไม่ไปด้วยกัน Mijn hond wil niet spelen. หมาฉันมันไม่อยากเล่น Anna mag niet naar buiten gaan. อันน่าไม่มีสิทธิออกไปข้างนอก (อันนี้เป็นประโยคห้ามนะคะ ไม่ได้แปลว่าไม่จำเป็นต้องไป แต่ห้ามออกไปเด็ดขาด) Hij is niet naar […]