เด็กน้อยมักจะมาคู่กับความซน บางวันเจ้าตัวน้อยของคุณแม่อาจกลับบ้านมาพร้อมกับแผลต่างๆตามตัว ซึ่งโอกาสลูกๆของคุณแม่จะเกิดแผลแบบนี้ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ในบทความนี้ เราจะมาดูกันค่ะว่าเราจะทำการปฐมพยาบาลในกรณีที่เกิดแผลที่ผิวหนังอย่างไร มาทำความรู้จักแผลที่ผิวหนังกัน เมื่อเกิดแผลที่ผิวหนัง การยึดติดกันของชั้นผิวหนังจะมีการแยกออกจากกัน ส่วนแผลที่ผิวหนังที่ลึกยังสามารถทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (กล้ามเนื้อและกระดูก) และแม้กระทั่งอวัยวะได้ อันตรายที่เกิดขึ้นได้จากแผลที่ผิวหนังคือ การติดเชื้อ เราควรทำอย่างไรบ้าง ดูลักษณะแผลว่าเป็นแผลเปิดหรือไม่ (เช่น แผลถลอก หรือแผลถูกของมีคมบาด) ดูว่ามีน้ำ (ก๊อก) อยู่ใกล้ๆ A: หนังกำพร้า B: หนังแท้ C: เนื้อเยื่อ เช่น ไขมันและกล้ามเนื้อ แผลที่ผิวหนังคือ A อาจมีบางส่วนของ B ที่เกิดความเสียหาย ทำการรักษาในกรณีที่มีน้ำอยู่บริเวณใกล้ๆ คุณควรทำอะไร? ในกรณีที่เลือดออกมาก ให้ทำการกดที่บาดแผล ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น (น้ำดื่ม) หากไม่มีก๊อกน้ำก็สามารถใช้น้ำดื่มจากขวดได้ เช็ดบริเวณแผลให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แผลรอยถลอกเล็กน้อยสามารถปล่อยให้แห้งจากอากาศได้ สำหรับแผลถลอกที่รุนแรง ให้ทำการปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่ปลอดเชื้อ ในหัวข้อ ‘เลือดออก (bloeding)’ คุณจะได้เรียนรู้ว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้างในกรณีที่มีการเสียเลือดเป็นจำนวนมาก หากไม่มีก๊อกน้ำก็สามารถใช้น้ำดื่มจากขวดได้เช่นกัน ทำการรักษาในกรณีที่ไม่มีน้ำ เฉพาะในกรณีที่ไม่มีน้ำก๊อก (หรือน้ำดื่ม) […]
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย การติดเชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกและมักไม่มีสัญญาณเตือนให้รู้ล่วงหน้า ซึ่งช่วงอายุที่พบการติดเชื้อมากที่สุดคือ 18-28 ปีเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะใช้เวลา 5-10 ปี จนกระทั่งกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก
ปฐมพยาบาลเบบี๋และเด็กน้อยเดอะซีรีย์ (EHBO aan baby’s en kinderen de serie) คงมีคุณแม่หลายๆคนกังวลมิใช่น้อย เมื่อลูกน้อยของคุณแม่ค่อย ๆโตขึ้น ความซุกซนของเด็กน้อยก็ค่อยๆจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และอุบัติเหตุก็อาจจะเป็นสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างน้อยถ้าคุณแม่ทราบวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องสำหรับเบบี๋และเด็กน้อย ก็อาจจะทำให้คุณแม่มีความอุ่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเราอยู่ต่างแดนค่ะ ในวันนี้ทางไทสมาคมจะนำเสนอบทความชุดเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล (EHBO: Eerste Hulp Bij Ongeluk) โดยจะอ้างอิงตามหลักการปฐมพยาบาลจากหน่วยงานกาชาด (Rode Kruis) ค่ะ ปฐมพยาบาลเบบี๋และเด็กน้อยเดอะซีรีย์ จะแบ่งออกเป็นหลายๆบทความย่อย ๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (Eerste Hulp verlenen) แผลไฟไหม้ (Brandwonden) แผลที่ผิวหนัง (Huidwonden) เลือดออก (Bloedingen) เลือดกำเดาไหล (Neusbloeding) การได้รับพิษ (Vergiftiging) สำลัก (Verslikking) ไข้และไข้ชัก (Koorts en koortsstuipen) ในวันนี้เราจะมาในหัวข้อ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (Eerste Hulp […]
จากข้อมูลล่าสุดถึงวันที่ 16 ก.พ. 2022 ตั้งแต่เริ่มมีโควิดมา ตอนนี้ประเทศเนเธอร์แลนด์ตอนนี้ก็รายงานผลตรวจว่าติดเชื้อกันไป 5.85 ล้านรายแล้ว จากประชากรในประเทศทั้งหมด 17.6 ล้านคน คิดเป็นตัวเลขง่ายๆ ก็ ⅓ ของประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่มี โอมิครอน มาเมื่อปลายปีที่แล้ว ตัวเลขผู้ติดเชื้อก็ขึ้นฮวบๆ รายงานล่าสุดจาก RIVM ตัวเลข 7 วันย้อนหลังจากรายงานเมื่อวันที่ 18 ก.พ. พบว่าตรวจติดเชื้อ 83,440 ราย หรือ 57.3% ของผู้เข้ารับการตรวจ ถึงแม้ตัวเลขจะยังสูงอยู่ แต่ก็ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับตัวเลข 149,875 รายต่อวันเมื่อต้นเดือนก.พ. แถลงการณ์ล่าสุดจากที่รัฐบาลประกาศเมื่อวันที่ 15 ก.พ.ก็จะมีการผ่อนคลายมาตรการโควิดทุกอย่างอย่างเป็นขั้นตอน ไม่ได้แปลว่าตอนนี้โึควิดหายไปนะคะ แต่แปลว่าเราต้องอยู่ร่วมกับโควิดอย่างเป็นทางการแล้ว เพราะฉะนั้นเตรียมตัวไว้เลยค่ะ สิ่งที่ทุกบ้านควรมี ยาสามัญประจำบ้านและชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง มาเตรียมตัวกันค่ะ การปฏิบัติตัวเมื่อติดโควิด เมื่อ e-mail แจ้งว่าผลมาแล้ว เราก็ต้อง log in ที่ coronatest.nl […]
ในปัจจุบันสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19 ยังคงน่าเป็นห่วงทั้งในประเทศเนเธอร์แลนด์ และประเทศไทย มีหลายคนอาจจะทำการซื้อ/ขาย หรือกักตุนสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเอาไว้ เพราะคิดว่ามีฤทธิ์ที่สามารถยับยั้งเชื้อไวรัส หรือรักษาโควิดได้ แต่ก็ยังคงมีคำถามว่า สมุนไพรตัวนี้สามารถรักษาโควิดได้จริงหรือไม่? ในวันนี้ทางไทสมาคมจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรตัวนี้กันค่ะ ทำความรู้จักกับฟ้าทะลายโจรกันก่อน ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) มีชื่ออื่นๆ คือ หญ้ากันงู น้ำลายพังพอน ฟ้าสาง เขยตายยายคลุม สามสิบดี เมฆทะลาย ฟ้าสะท้าน เป็นไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. มีรสขม ส่วนที่นำมาใช้ คือ ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง สารสำคัญที่พบในฟ้าทะลายโจรเป็นสารกลุ่ม diterpenoid lactones ได้แก่ andrographolide (AP), 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide (14-deoxy-11,12-didehydro-AP), neoandrographolide (neo-AP) และ 14-deoxyandrographolide (14-deoxy-AP) เป็นต้น และสารกลุ่ม polysaccharides (arabinogalactan น้ำหนักโมเลกุล 109 kDa) ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สนับสนุนการใช้ในโรคหวัดทั่วไป […]
พอพูดถึงหน้าร้อนแล้ว เราก็มักจะนึกถึงอากาศร้อนที่มาพร้อมกับแสงแดดแน่นอนค่ะ วันนี้เราจะมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับความสำคัญของครีมกันแดดสำหรับผิวหน้าและแนะนำครีมกันแดดแบบไหนที่เหมาะกับแต่ละสภาพผิวกันนะคะ โดยเฉพาะที่เนเธอร์แลนด์ แดดนี่ร้อนแรงและแผดเผาไม่ต่างจากอยู่เมืองไทยเท่าไหร่เลยนะคะ ว่ามั้ย จริงๆแล้วครีมกันแดดนั้นมีความสำคัญมากๆ ไม่ว่าเราจะอยู่ในฤดูไหนนะคะ เพราะรังสีวีที่มากับแดดนั้นไม่ได้มาเฉพาะหน้าร้อนแต่อย่างใดค่ะ ครีมกันแดดนั้นนอกจากจะช่วยป้องกันผิวไหม้จากแสงแดดแล้ว ยังมีคุณสมบัติอื่นๆอีกด้วยนะคะ ตัวอย่างเช่น เป็นเกราะป้องกันผิวจากรังสี UV อันตราย ป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัย ลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ลดการเกิดจุดด่างดำบนใบหน้า ป้องกันผิวไหม้ ป้องกันผิวหมองคล้ำ บำรุงผิวให้แข็งแรง ครีมกันแดด (Sunscreen) คือ สารที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสียูวี (Ultraviolet Radiation: UV) โดยช่วยให้ผิวไม่ถูกแสงแดดทำลายจนไหม้หรือเกิดจุดด่างดำต่าง ๆ รวมทั้งลดโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง ส่วนผสมที่อยู่ในครีมกันแดดจะช่วยปกป้องผิวด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ปกป้องชั้นผิวที่อยู่ลึก หรือสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตกลับออกไป ทั้งนี้ ครีมกันแดดมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ โลชั่น ครีม ขี้ผึ้ง หรือสเปรย์ เห็นมั้ยคะว่าประโยชน์ของครีมกันแดดนั้นมีมากมายทีเดียวค่ะ ส่วนตัวผู้เขียนเองถ้าต้องให้เลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าได้เพียงอย่างเดียวก็จะเลือกเป็นครีมกันแดดค่ะ หรือไม่ก็เป็นครีมบำรุงผิวหน้าที่มีส่วนผสมของครีมกันแดดค่ะ เพราะอย่างน้อยก็ทั้งช่วยบำรุงและป้องกันอันตรายจากรังสียูวีด้วยค่ะ
ถึงแม้ว่าการระบาดของโควิดยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ทุกคนก็เริ่มมีคนหวังว่าโลกจะเปิดอีกครั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัส ทางรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีน
สวัสดีค่ะ เป็นอย่างไรกันบ้างแล้วคะ ยังสบายดีกันอยู่ไหม ผ่านมากันแล้วทั้งปีใหม่ ทั้งล็อคดาวน์ ทั้งเคอร์ฟิว ถึงจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดจะเริ่มลดลง แต่ตัวเลขก็ยังสูงอยู่ แถมตอนนี้มีการกลายสายพันธ์ุอีก ไทสมาคมเป็นห่วงพี่น้องชาวไทยเลยมาขอแนวทางการดูแลตัวเองที่บ้านถ้าสงสัยว่าติดโควิด หรือเป็นโควิดแล้ว จะทำอย่างไรดี บังเอิญมากค่ะ สัปดาห์ที่ผ่านมามีพี่ที่รู้จักกันเพิ่งได้รับการตรวจและการวินิจฉัยพอดี เลยขออนุญาตเป็นทางผ่านเล่าประสบการณ์ให้ทุกคนได้เป็นความรู้นะคะ เพราะได้ประสบการณ์มาทั้ง 2 แบบเลย คือ ทั้งมีอาการ และไม่มีอาการ กรณีที่ 1 : มีอาการ เริ่มจากคุณสามีของพี่นก (นามสมมติ) ไม่สบายค่ะ มีไข้ ไอ 2-3 วัน ไข้ไม่ลงก็ติดต่อ GGD ขอตรวจโควิดตาม guideline ค่ะ ตรวจครั้งแรกมีแผ่นพับให้อ่าน อธิบายเรื่องการอยู่บ้านรอผล ส่งมาทาง อีเมล์กับข้อความทางโทรศัพท์ ถ้าผลเป็นบวก เจ้าหน้าที่ GGD จะโทรมาคุย สัมภาษณ์ ตอบแบบสอบถาม ถามเรื่องอาการ แหล่งแพร่เชื้อ (คนที่เจอย้อนหลัง 2-3 วัน) กับแนะนำการปฏิบัติตัว ใช้เวลาสัมภาษณ์พูดคุยประมาณหนึ่งชั่วโมง […]
สวัสดีค่า เผลอแป๊บเดียวเดือนสุดท้ายของปี 2020 กันแล้ว… ทุกคนเป็นอย่างไรบ้างคะ สบายดีกันอยู่ไหม ช่วงนี้อากาศเริ่มเย็นแล้ว บางวันก็ติดลบอีกต่างหาก เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ยังมีแรงสู้กันอยู่ใช่ไหมคะ ปี 2020 เป็นปีที่ประหลาด เพราะมี COVID-19 หลายคนก็ติดอยู่กับบ้าน ทำงานไม่ได้บ้าง ทำงานจากบ้านบ้าง จะเที่ยวก็ไม่ได้ จะฉลองคริสมาสต์ก็กล้าๆ กลัวๆ ทำตัวอย่างไรดีนะกับการดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกายในหน้าหนาวยุคโควิดอย่างนี้ มาค่ะตามมา เดี๋ยวหมอมิ้นจะเล่าให้ฟัง การดูแลตัวเองขอแบ่งง่ายๆเป็น 3 ช่วงนะคะ อย่างแรกเลย เมื่อยังไม่มีโรค ต้องป้องกันตัวเอง ไม่ให้โรคภัยเบียดเบียนค่ะ ป้องกันแล้วก็สร้างวินัยในตัวเองให้สุขภาพแข็งแรงดีอยู่เสมอ และสุดท้ายถ้าไม่สบายแล้วทำตัวให้หายให้เร็วที่สุดค่ะ 1. ป้องกันโรคภัยเบียดเบียน ทำได้ด้วยการทำตามมาตรการของรัฐบาลเลยค่ะ ล้างมือบ่อยๆ ถ้าอยู่นอกบ้านอาจจะล้างมือลำบากก็พยายามแตะต้องอะไรให้น้อยที่สุด พอเข้าบ้านปุ๊บล้างมือเลยค่ะ ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ นานอย่างน้อย 20 วินาที ถ้าล้างมือไปร้องเพลงช้างไป 2 รอบ ได้อย่างน้อย 20 วินาทีแน่นอนค่ะ ไม่เชื่อลองดู ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง… […]
- 1
- 2