ตามข้อกำหนดของหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง หรือ IND นั้น หลังจากที่คุณยื่นขอวีซ่า mvv แล้ว IND ระบุในเวปไซท์ ไม่อนุญาติให้คุณเดินทางเข้ามารอผลอนุมัติในเนเธอร์แลนด์ด้วยวีซ่าอื่น (ท่องเที่ยว/เยี่ยมเยือน) หรือ อยู่รอผลอนุมัติวีซ่าในเนเธอร์แลนด์หลังยื่นขอวีซ่า MVV คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ind.nl
ตามข้อกำหนดปัจจุบันของ IND วีซ่าประเภทติดตามลูก หรือ วีซ่าผู้ปกครองของบุตรชาวดัตซ์ นั้น สามารถเปลี่ยนเป็นวีซ่าถาวร หรือ ขอสัญชาติเนเธอร์แลนด์ในภายหลังได้ คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://ind.nl/nl/nederlander-worden-tijdelijke-en-niet-tijdelijke-verblijfsdoelen
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 06.04.2024
หากต้องการเรียนต่อสายอาชีพที่นี่ สถานศึกษาส่วนมากที่รับนักเรียน เข้าเรียนจะรับวุฒิด้านภาษาดัตช์อย่างน้อย ระดับ B1 หรือเทียบเท่า แต่บางโรงเรียนอาจจะให้มีการ ทดสอบระดับภาษาแทนตรวจดิโพลม่าอย่างเดียว และหากผลการทดสอบเป็นที่พอใจ โรงเรียนอาจรับเข้าเรียนด้วยดิโพลม่า A2 ซึ่งโรงเรียนอาจมีเงื่อนไขให้ลงเรียนภาษาเพิ่มก่อนเรียนวิชาจริง ทั้งนี้เงื่อนไขไม่มีตายตัว ดังนั้นจึงควรหาข้อมูลสาขาและสถานศึกษาที่สนใจและติดต่อสอบถามโดยตรง
ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์โดยถูกกฎหมาย เมื่อถึงอายุเกษียณ ย่อมมีสิทธิ์ได้รับเบี้ยชราภาพ หรือ AOW เช่นเดียวกับชาวดัตซ์ และหากคุณทำงาน และมีการสะสมเงิน pensieon เพิ่มเติม คุณก็จะมีสิทธิได้เงินตัวนี้ด้วยเช่นกัน คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rijksoverheid.nl/onderwerpen/algemene-ouderdomswet-aow
แต่ละธนาคารก็จะมีรูปแบบบัญชีเงินออมแตกต่างกันไป ทางที่ดีควรตรวจสอบข้อมูลจากเวปไซท์ของธนาคารต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบบัญชีเพื่อออมเงินและผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ส่วนมากธุรกรรมในเนเธอร์แลนด์จะเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด การใช้เงินสดจึงไม่มีความจำเป็น ดังนั้นการฝากเงิน หรือถอนเงินจากธนาคารจะมีข้อจำกัดในจำนวนครั้งและจำนวนเงิน ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ก่อนจะเปิดบัญชีธนาคารควรเช็คเงื่อนไขของแต่ละธนาคารให้ดี
หากเอกสารที่ทางการไทยออให้ ซึ่งคุณนำมาได้แปลและผ่านการรับรองเอกสารจากกรมการกงสุลและสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลดน์ที่ประเทศไทยมาเรียบร้อยแล้ว
ขอให้ไปติดต่อขอดำเนินการที่ gemeente Den Haag ตามลิ๊งค์ เพื่อให้มีผลตามกฎหมายดัตช์ ในอนาคต
หาคำตอบได้ในบทความชุด เมื่อเขาหรือเธอจากไป
หาคำตอบได้ในบทความชุด เมื่อเขาหรือเธอจากไป
มีสิทธิเท่าเทียมกับคนที่มาอยู่ด้วยวีซ่าระยะยาว คือเสียภาษีจากการทำงานตามเรทปกติ ส่วนจะได้รับส่วนลดทางภาษีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายประการ (ดูคำอธิบายเพิ่มในเรื่องภาษี) ถ้าบริษัทดำเนินการให้ คนที่มาทำงานด้วยวีซ่า Highly Skilled Migrant จะได้รับการยกเว้นภาษี 30% ของเงินเดือน (30% ruling) แต่ต้องเข้าข่ายของการได้รับการยกเว้นตัวนี้
อสังหาริมทรัพย์ในเนเธอร์แลนด์ไม่มีข้อจำกัดเรื่องสัญชาติผู้ถือครอง แต่การซื้อขายอาจมีข้อสัญญาที่มีรายละเอียดมาก และต้องทำการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ที่เรียกเป็นภาษาดัตช์ว่า makelaar
หากถูกทำร้ายให้แจ้งความกับตำรวจด้วยเบอร์กลาง 112 แม้ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์เบอร์นี้ก็สามารถโทรได้
ให้ติดต่อที่หน่วยงาน RDW โดยสามารถยื่นขอความจำนงเพื่อสอบใบขับขี่ชนิดต่างๆได้ โดยต้องผ่านการอบรมภาคปฏิบัติและทฤษฎีมาก่อน
หากสิทธิตามคำถามหมายถึงการช่วยเหลือในรูปแบบประกันสังคม ก็ต้องมาดูว่าสามีหรือภรรยาได้จ่ายเงินประกัน ตรงส่วนนั้นไว้หรือไม่และได้สะสมมาเป็นจำนวนเท่าไหร่ จำนวนเงินในรายละเอียดต้องล๊อคอินเข้าไปตรวจสอบดูใน mijnpensioenoverzicht.nl
ถ้าจับตัวคนร้ายไม่ได้ก็ต้องไปตรวจดูว่าเราได้ทำประกันชนิดใดบ้าง อาทิประกันสุขภาพ เพื่อช่วยในการรักษาเมื่อเจ็บตัวจากการโดนทำร้าย หรือหากโดนปล้นขณะท่องเที่ยว ต้องไปดูว่าเรามีประกันการเดินทางแบบ doorlopendeไหม
ตามข้อกำหนดของ Douane https://www.belastingdienst.nl/wps/wcm/connect/bldcontenten/belastingdienst/individuals/abroad_and_customs/luggage/from_a_non_eu_country/travelling_from_outside_eu
สิ่งที่นำเข้าได้ไม่ต้องระวางภาษีคือ
สินค้าที่ซื้อระหว่างเดินทางที่มีมูลค่าไม่เกิน € 430
เครื่องดื่มแอลกอฮอลเข้มข้น(spirit) 1 ลิตร ไวน์ 2 ลิตร และเบียร 16 ลิตร
บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือ 250 กรัม ยาสูบ หรือ ซิก้าร์ 50 มวน
สิ่งของมีค่าที่นำติดตัวไปตั้งแต่เดินทางขาออก
สินค้าประเภทพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ที่ไม่มีใบรับรอง สามารถเช็ครายละเอียดได้จาก https://www.belastingdienst.nl/wps/wcm/connect/bldcontentnl/belastingdienst/prive/douane/wat_mag_niet_zomaar_in_uitvoeren/planten_bloemen/
เพิ่มเติมรายละเอียดของสิ่งต้องห้ามโปรดดูในเวปไซท์
คำถามที่พบบ่อย Frequesntly Asked Questions (FAQ): งานบริการกงสุลสำหรับคนไทย
1.1 งานทะเบียนราษฎร์ ได้แก่ งานจดทะเบียนเกิด และจดทะเบียนตาย
1.2 งานทะเบียนครอบครัว ได้แก่ งานจดทะเบียนสมรส และจดทะเบียนหย่า
1.3 งานทะเบียนบัตรประชาชน ได้แก่ งานทำบัตรประชาชนแทนใบเดิมที่หมดอายุหรือสูญหาย
1.4 งานหนังสือเดินทางไทย ได้แก่ งานรับคำร้องทำหนังสือเดินทางไทย และการออกเอกสารเดินทางฉุกเฉิน
1.5 งานผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร คือ งานรับคำร้องขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร และทำหนังสือให้ผู้ขอผ่อนผันนำไปยื่นต่อสัสดี
1.6 งานสัญชาติ ได้แก่ งานรับคำร้องขอสละสัญชาติไทย และส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.7 งานรับรองนิติกรณ์ (งานรับรองเอกสาร) เพื่อนำไปใช้ที่ประเทศไทย
(1) การรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ (เอกสารต่างชาติ และ/หรือคำแปล ที่ได้ผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์แล้ว)
(2) การรับรองลายมือชื่อบุคคลสัญชาติไทยที่มาลงนามในเอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่ เช่น หนังสือมอบอำนาจเพื่อการต่าง ๆ หนังสือให้ความยินยอมให้บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะทำหนังสือเดินทางไทย เป็นต้น
(3) การทำหนังสือมอบอำนาจ หนังสือให้ความยินยอม
1.8 งานคุ้มครองและดูแลคนไทยในต่างประเทศ โดยเป็นไปตามกฎหมายไทย และไม่ขัด/แย้งกับกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งรวมถึงการจัดเที่ยวบินพิเศษสำหรับเดินทางกลับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา
1.9 อื่น ๆ เช่น จัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรตามกฎหมาย ให้คำแนะนำปรึกษาในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ทางกงสุลของสถานเอกอัครราชทูต
ดูข้อมูลได้ที่ hague.thaiembassy.org หัวข้อ “งานบริการกงสุลสำหรับคนไทย”
สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่มีอำนาจดำเนินการทั้ง 3 กรณี โดย กรณี (1) และ (3) จะต้องดำเนินการด้วยตนเองที่ประเทศไทย ส่วนกรณี (2) สามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนได้
หมายเหตุ – การเปลี่ยนชื่อ-สกุลในหนังสือเดินทางไทยไม่สามารถทำได้โดยตรง แต่จะต้องจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อต้น หรือชื่อสกุลให้เรียบร้อย แล้วจึงทำบัตรประชาชนไทยและหนังสือเดินทางไทยใหม่ เพื่อให้ปรากฏชื่อ-สกุลใหม่ในหนังสือเดินทางไทย
ผู้ที่มีสัญชาติไทย ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว และมีบัตรประชาชนไทยแล้ว โดยต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ประเทศไทยในวันยื่นคำร้อง กรณีที่ชื่อถูกย้ายไปอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะไม่สามารถทำหนังสือเดินทางไทยได้ ไม่ว่าจะเป็นประเภทอายุ 5 ปี หรือ 10 ปี
กรณีมารดามีสัญชาติไทย – บุตรของมารดาผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทย จึงสามารถทำหนังสือเดินทางไทยได้ โดยต้องจดทะเบียนเกิดกับสถานเอกอัครราชทูตฯ ก่อน
กรณีบิดามีสัญชาติไทย – บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไทยของบิดาผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทย จึงสามารถทำหนังสือเดินทางไทยได้เมื่อจดทะเบียนเกิดกับสถานเอกอัครราชทูตฯ เรียบร้อยแล้ว
บุตรนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อ
(1) บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
(2) บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร (ทะเบียนรับรองบุตร)
(3) ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
กรณีมารดามีสัญชาติไทย – บุตรของมารดาผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทย จึงสามารถทำหนังสือเดินทางไทยได้ โดยต้องจดทะเบียนเกิดกับสถานเอกอัครราชทูตฯ ก่อน
กรณีบิดามีสัญชาติไทย – บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายไทยของบิดาผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทย จึงสามารถทำหนังสือเดินทางไทยได้เมื่อจดทะเบียนเกิดกับสถานเอกอัครราชทูตฯ เรียบร้อยแล้ว
บุตรนอกสมรสจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อ
(1) บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
(2) บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร (ทะเบียนรับรองบุตร)
(3) ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ไม่สามารถทำได้ คุณต้องไปดำเนินการด้วยตนเองที่ประเทศไทยหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นในประเทศไทยแจ้งแทน โดยบุคคลดังกล่าวต้องบรรลุนิติภาวะแล้วและมีความน่าเชื่อถือ
หากไม่ลงบัญชีทหารกองเกินตามกำหนด มีความผิดตาม พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 44 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 300 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดูข้อมูลเพิ่มเติม – หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน www.tdc.mi.th/TDCservice.html
สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่มีให้บริการแปลเอกสาร โดยท่านต้องติดต่อล่ามสาบานตนเพื่อแปลเอกสารภาษาดัตช์สำหรับนำไปใช้ในประเทศอื่น และรับรองให้เรียบร้อย เมื่อกระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์รับรองเอกสารต้นฉบับและคำแปลแล้ว จึงนำมารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ก่อนนำไปใช้ที่ประเทศไทย
พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2508 และฉบับแก้ไข ไม่ได้ระบุห้ามไม่ให้คนไทยเข้าถือสัญชาติอื่นร่วมด้วย อย่างไรก็ดี เมื่อท่านได้เข้าถือสัญชาติอื่นแล้ว ท่านสามารถขอสละสัญชาติไทยได้ ทั้งนี้ ขอให้ท่านต้องไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนดำเนินการ
สามารถทำได้ล่วงหน้าไม่เกิน 60 วัน ก่อนบัตรประชาชนไทยใบปัจจุบันหมดอายุ
ติดต่อแจ้งความ และนัดหมายกับสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อทำหนังสือเดินทางไทยเล่มใหม่ตามปกติ โดยนำเอกสารแจ้งความมาเป็นหลักฐานด้วย
ไม่สามารถทำได้
คนต่างด้าว* ไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ ยกเว้น 3 กรณี คือ
- ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินในฐานะทายาทโดยชอบธรรมและต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ
– เพื่ออยู่อาศัย ต้องไม่เกิน 1 ไร่/ครอบครัว
– เพื่อการพาณิชยกรรม ต้องไม่เกิน 1 ไร่
– เพื่อการอุตสาหกรรม ต้องไม่เกิน 10 ไร่
– เพื่อการเกษตรกรรม ต้องไม่เกิน 10 ไร่/ครอบครัว
– เพื่อการศาสนา ต้องไม่เกิน 1 ไร่
– เพื่อการกุศลและสาธารณะ ต้องไม่เกิน 5 ไร่
– สุสานของตระกูล ต้องไม่เกิน ครึ่ง ไร่
*หากได้รับมรดกเกินจากจำนวนที่กฎหมายกำหนด ต้องจำหน่ายส่วนเกินให้เรียบร้อยภายใน 1 ปี
- ได้นำเงินมาลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท
– สามารถขอมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่
- ได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายอื่น เช่น พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุนฯ พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมฯ หรือ พ.ร.บ. ปิโตรเลียมฯ เป็นต้น
*คนต่างด้าวย่อมหมายรวมถึงคนไทยที่ได้เสียสัญชาติไทยตามกฎหมายแล้วด้วย
- ผู้มีสัญชาติไทยย่อมสามารถพำนักอาศัยในประเทศไทยได้ตามปกติ
- สำหรับสมาชิกครอบครัว ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ สามารถไปพำนักที่ประเทศไทยได้ฐานะสมาชิกครอบครัวของคนไทย โดยขอรับการตรวจลงตรา (ทำวีซ่า) ประเภทที่ถูกต้อง คือ ประเภท Non-immigrant Visa O
หรือคู่สมรสที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสำหรับการขอวีซ่าประเภท Non-Immigrant Visa O-A ก็สามารถขอวีซ่าประเภทนี้ได้เช่นกัน
ดูข้อมูลเพิ่มเติม – hague.thaiembassy.org หัวข้อ “VISA SERVICES”
- สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเตรียมเอกสารราชการของเนเธอร์แลนด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวของคุณเพื่อนำไปใช้ที่ประเทศไทย โดยจะต้องทำการแปลและรับรองนิติกรณ์ให้เรียบร้อย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอาจทำให้ต้องเดินทางกลับมาดำเนินการที่เนเธอร์แลนด์
4. การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ค่านิยมของไทย และของท้องถิ่นที่จะไปพำนัก ก็น่าจะช่วยให้สามารถปรับตัวได้เร็วขึ้นเมื่อย้ายไปพำนักที่ประเทศไทย โดยคุณอาจจะลองนึกย้อนดูว่า ในครั้งที่เดินทางมาพำนักที่เนเธอร์แลนใหม่ ๆ ต้องปรับตัวในเรื่องอะไรอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นตัวอย่างในการเตรียมความพร้อมให้กับตัวคุณเองและครอบครัว
บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายไทยของผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย จึงไม่ต้องขอสัญชาติไทยอีก แต่จะต้องจดทะเบียนเกิดกับสถานเอกอัครราชทูตฯ ให้เรียบร้อยเพื่อให้บุตรได้รับสิทธิในฐานะผู้มีสัญชาติไทย (และมีหน้าที่ตามที่กฎหมายไทยกำหนด)
เรื่องดังกล่าวเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานของเนเธอร์แลนด์ คือ IND (Immigratie en Naturalisatiedienst www.ind.nl) ซึ่งแม้เครือข่ายคนไทยจิตอาสาจะได้ช่วยกันศึกษารวบรวมข้อมูลจำนวนพอสมควรนำเสนอไว้ในคู่มือฉบับนี้แล้ว แต่คุณก็ควรที่จะตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงาน IND โดยตรงด้วย เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลง หรือกรณีของคุณอาจจะเป็นกรณีที่มีความเฉพาะ โดยขอให้คิดเสมอว่า ในท้ายที่สุด คนที่จะได้ประโยชน์ หรือ เสียประโยชน์ ก็คือตัวคุณ และเรื่องนี้จะอยู่กับคุณไปตลอดระยะเวลาที่คุณพำนักในเนเธอร์แลนด์