
สนับสนุนข้อมูล โดย NARISA ADMINISTRATIE
NOW กองทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือและจ่ายเงินชดเชยการจ้างงาน
สำหรับ นายจ้างที่มีผลประกอบการลดลง (คาดว่า) อย่างน้อย 20% ภายในระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน รวมไปถึงบริษัทจัดหางาน (uitzendbureau) สำหรับการจ้างงานชั่วคราวด้วย
วัตถุประสงค์ : เพื่อรักษางานและป้องกันการว่างงาน
วิธีการ : จ่ายเงินชดเชยสูงสุด 90% ของเงินจ้างงาน โดยขึ้นอยู่กับสัดส่วนของรายได้ที่สูญเสียไป ในระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน
การดำเนินการ : กองทุนนี้ ดำเนินการโดย UWV
จะใช้เวลาในการพิจารณา 2-4 สัปดาห์ และจะจ่ายล่วงหน้า ออกมาก่อน 80% จากยอดที่มีสิทธิ์จะได้รับ
เงื่อนไข
- ธุรกิจมีผลประกอบการลดลง อย่างน้อย 20% ภายในระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน ในช่วงตั้งแต่ 1-03-2020 โดยนายจ้างที่่ได้สิทธิ์รับเงินชดเชยนี้ จะต้องไม่เลิกจ้างพนักงานด้วยเหตุผล เพราะผลประกอบการที่ย่ำแย่
- ธุรกิจที่สูญเสียรายได้ 100% จะได้ รับเงินชดเชย 90%
- ธุรกิจที่สูญเสียรายได้ 50% จะได้ รับเงินช่ชดเชย 45%
- นายจ้างจะมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยนี้ 3 เดือน
- นายจ้างจะต้องจ่ายเงินเดือนพนักงานตามเดิม
นอกจากเงินชดเชยตามสัดส่วนที่กล่าวข้างต้นแล้ว นายจ้างยังมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชย เพิ่มอีก 30% ในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นในการจ้างงาน เช่น
- เงินสะสม vakantiegeld
- เงินสะสม Pensioen
- เบี้ยประกันสังคมในส่วนที่นายจ้างจะต้องจ่าย (werkgeverspremies)
(เงินชดเชยในส่วนนี้ นายจ้างมีสิทธิ์ได้รับสูงสุด 9,538 ยูโร)
Meer info rijksoverheid.nl/now
TOGS เงินช่วยเหลือสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 โดยตรง
ผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อป้องกัน COVID-19
วัตถุประสงค์ :เพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าเช่า ให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการป้องกัน COVID-19
วิธีการ: จ่ายเงินสนับสนุน ครั้งเดียว จำนวน € 4.000 ต่อ1 ธุรกิจ
การดำเนินการ : ดำเนินการโดย Rijksdienst voor Ondernemend Nederland (RVO)
- ต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีสำนักงานที่ตั้งในเนเธอร์แลนด์
- การพิจารณาว่าบริษัทไหนเข้าข่ายได้รับเงินช่วยเหลือ จำนวน €4000,- หรือไม่นั้น จะใช้การพิจารณา SBI Code ที่ระบุอยู่บน Kvk เป็นหลัก
- ที่ตั้งของธุรกิจของคุณจะต้องไม่เป็นที่อยู่เดียวกับที่อยู่อาศัยของคุณ หรือมีการแยกสัดส่วนออกมาและมีทางเข้าหรือทางออกแยกออกมาจากตัวที่อยู่อาศัย
- เป็นผู้ประกอบการที่คาดว่า จะมีการสูญเสียรายได้อย่างน้อย € 4.000 ไปจนถึงวันที่ 15-06-2020
- นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ อีก ที่ผู้ประกอบการต้องตรวจสอบเพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับ TOGS
ยื่นคำร้องของคุณได้ที่ rvo.nl/togs
TOZO เงินช่วยเหลือชั่วคราว สำหรับผู้ประกอบการอิสระแบบไม่มีลูกจ้าง
ผู้ประกอบการที่ประกอบอาชีพอิสระรวมถึงฟรีแลนซ์ที่ได้รับผลกระทบในภาวะวิกฤติโคโรน่า
วัตถุประสงค์: เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับผู้ประกอบการอิสระที่ได้รับความเดือดร้อน
วิธีการ : จ่ายเงินช่วยเหลือ สูงสุด €1.500 ขึ้นอยุ่กับรายได้ครัวเรือน
การดำเนินการ : สามารถยื่นขอต่อเทศบาล (gemeente) ที่อาศัย
- เป็นผู้ประกอบการอิสระที่ไม่มีลูกจ้าง มีอายุมากกว่า 18 ปี และยังไม่ได้รับเงิน AOW
- ผู้ประกอบการอิสระต้องชี้แจงได้ว่า ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติโควิด คาดว่าจะส่งผลให้มีรายได้ใน 3 เดือนน้อยกว่า รายได้ขั้นต่ำ และ/หรือ มีปัญหาสภาพคล่อง
- ผู้ประกอบการอิสระได้จดทะเบียนในทะเบียนการค้าของหอการค้า (KvK) ก่อนวันที่ 17 มีนาคม 2020
- ผู้ประกอบการอิสระมีชั่วโมงการทำงาน กับธุรกิจอย่างน้อย 1,225 ชั่วโมงต่อปี (หรือเฉลี่ย 23.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
Meer info rijksoverheid.nl/tozo
ถาม-ตอบ เรื่องสิทธิและมาตรการเยียวยาต่างๆในวิกฤตโควิด-19
– ขอเงินสงเคราะห์จากเบอลาสติ้งดีน เช่น zorgtoeslag และ huurtoeslag
– ขอเงินสงเคราะห์(toeslag) สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าค่าครองชีพขั้นต่ำ ได้ที่ UWV
– ขอเงินช่วยเหลือด้านสังคม bijstandsuitkering หรือมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ได้จากเทศบาล(gemeente) ที่ตนอาศัยอยู่
– ตรวจสอบว่าเรามีสิทธิ์หรือเข้าข่ายว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการอื่นๆ อีกหรือไม่ ได้ที่ลิ้งค์
https://www.nibud.nl/consumenten/berekenuwrecht/
ทำได้ หากในสัญญามีการระบุ การตกลงร่วมกันว่า ด้วยเรื่อง Loonuitsluitingsbeding กล่าวคือถ้าหากในช่วง 6 เดือนแรกของสัญญา พนักงานไม่มีชั่วโมงทำงาน นายจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเดือน
และเรายังอยู่ในช่วง 6 เดือนของสัญญานี้
(เนื่องจากเป็นภาวะวิกฤต) ถ้ามีการตกลงร่วมกันและได้รับการยินยอมจาก ลูกจ้าง ก็สามารถทำได้
หากมีสัญญาแบบ o uur contract หรือ Oproepcontract จะได้รับค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงเฉลี่ยจากชั่วโมงทำงาน 3 เดือน ย้อนหลัง (คำนวณง่ายๆ ด้วยการ นำจำนวนที่เคยทำงานในสลิปเงินเดือนสามเดือนย้อนหลังมาบวกกันแล้วหารด้วย 3)
ผู้ที่ทำงานในรูปแบบ Opting in ไม่สามารถเรียกร้องค่าจ้างจากเจ้าของร้านได้ในช่วงที่มีการสั่งปิดกิจการ เพราะผู้ที่ทำงานในรูปแบบนี้ไม่ถือเป็น “ลูกจ้างผู้ประกันตน” ตามกฎหมายแรงงาน
และการหักเก็บภาษีจากรายได้ตอนทำงานนั้น ไม่ได้หักเก็บเบี้ยประกันตน เช่น ประกันการถูกเลิกจ้าง ประกันการตกงาน ประกันการเจ็บป่วย ฯลฯ
**และเจ้าของร้านก็ไม่สามารถขอใช้ NOW ได้**
ส่งจดหมายขอให้นายจ้างจ่ายเงินเดือนตามสิทธิ์ ที่ตนเองควรจะได้รับตามเงื่อนไขสัญญา
ในเดือนพฤษภาคม และช้าที่สุดไม่เกิน 1 กรกฎาคม
หากไม่สามารถจ่ายได้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดนี้
นายจ้างจะต้องทำการแจ้งพนักงานเป็นลายลักษณ์อักษร ว่าต้องการแบ่งจ่ายเป็นงวดหรือจ่ายช้ากว่าหนด และจะต้องได้รับการยินยอมจากลูกจ้างเท่านั้นจึงจะทำได้
ถ้าเรามีรายได้น้อยลงเพราะถูกเลิกจ้าง จะต้องรีบแจ้งเปลี่ยนแปลงรายได้ต่อเบลอาสติ้งดีน เพราะเมื่อรายได้น้อยลง เราก็มีสิทธิ์ได้รับเงิน Kinderopvangtoeslag สูงขึ้น ส่วนต่างที่เป็นยอด Eigen bijdragen ก็จะได้น้อยลง
[ถ้าถูกเลิกจ้าง เราจะยังมีสิทธิ์ได้เงิน kinderopvangtoeslag อยู่อีก 3 เดือน หลังจากนั้น จะหมดสิทธ์ ซึ่งมีผลต่อ eigen bijdragen นี้ด้วย]
ลูกจ้างจะปฎิเสธได้ก็ต่อเมื่อมีสิ่งที่แสดงได้ชัดว่า สถานที่ทำงานนั้นมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เพื่อนร่วมงานป่วยแต่ยังมาทำงาน หรือนายจ้างไม่ได้มีมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อในที่ทำงาน
พนักงานมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามสัญญา (แต่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างสามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ ว่าในช่วงเวลากักกันตัวนี้ จะเลือกใช้การจ่าย vakantiedagen ออกหรือไม่)
ทำได้ แต่พนักงานมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างตามจำนวนที่ระบุในสัญญา เว้นแต่จะมีการระบุข้อยกเว้นใน CAO ว่าให้นายจ้างสามารถเรียกพนักงานมาทำงานชดเชย ในภายหลังได้
ทำได้
แต่นายจ้างจะต้องแจ้งต่อลูกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อย 1 เดือนล่วงหน้า ก่อนสัญญาจ้างจะหมดอายุ
1. หากมีสัญญาแบบระบุชั่วโมง คุณจะมีสิทธิ์ได้รับเงินเดือน ตามจำนวนชั่วโมงที่ระบุในสัญญา
2. หากมีสัญญาแบบ o uur contract หรือ Oproepcontract จะได้รับค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงเฉลี่ยจากชั่วโมงทำงาน 3 เดือน ย้อนหลัง (คำนวณง่ายๆ ด้วยการ นำจำนวนที่เคยทำงานในสลิปเงินเดือนสามเดือนย้อนหลังมาบวกกันแล้วหารด้วย 3)
Load More
การผ่อนผันขยายเวลาการชำระภาษี / การให้เครดิต
รัฐบาลได้มีมาตรการสำหรับการขยายเวลาการชำระภาษี ลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับการขอผ่อนผันการยื่นภาษี และมีการให้เครดิตกับผู้ประกอบการเพื่อรักษาสภาพคล่องอีกด้วย
ดูรายละเอียดมาตรการผ่อนผันจากสรรพากร ได้ที่นี่ >
ดูข้อตกลงการขยายเครดิตได้ที่นี่ >
แผนการช่วยเหลืออื่นๆ
รัฐบาลพยายามวางแผนการจัดการเหตุฉุกเฉินทางการเงิน ให้ครอบคลุมในกลุ่มธุรกิจให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยเหลือประชาชน ทุกภาคส่วน