เรื่องจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ในขณะนี้คือภาวะภัยแล้งในยุโรป ทุกประเทศประสบภัยนี้ถึงขนาดแม่น้ำบางสายที่เคยเป็นแม่น้ำใหญ่เหือดแห้งจนลงไปเดินได้ ในฝรั่งเศสถึงกับมีประกาศไม่ให้ใช้น้ำก๊อกบริโภคตรงในบางแคว้น แม่น้ำสายหลักในการเดินเรือส่งสินค้าบางจุดก็ต่ำมากจนทางการต้องประกาศเรื่องระวางน้ำหนักเรือให้ปรับลดลง ในเนเธอร์แลนด์ของเราก็ประสบภัยแล้งเช่นกัน ฤดูร้อนปีนี้มาโหดมาก ตอนนี้ภาวะภัยแล้งที่นี่โดนปรับเพิ่มมาตรการขึ้นจาก niveau 1 > niveau 2 ตั้งแต่ 13 กค ที่ผ่านมาแล้ว นิโวสองหมายถึงอะไร Niveau 2 Feitelijk watertekort คือการเฝ้าระวัง และต้องมีการจัดสรรการใช้น้ำ ระหว่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำมากเช่น การเดินเรือ การก่อสร้าง สวนผัก ธรรมชาติ สวนน้ำ และการประมงในพื้นที่ปิด หรือโรงงานผลิดและบรรจุน้ำดื่มใ่ขวดขายเป็นต้น คนมาอยู่ใหม่อาจนึกไปว่า ประเทศที่เต็มไปด้วย คลอง คลอง และคลอง อย่างเนเธอร์แลนด์จะขาดน้ำได้อย่างไร แถมยังมีการวัดและจัดลำดับความแห้งแล้งอีก ในเนเธอร์แลนด์มีการจัดไว้ 4 niveau จาก 0 ไปถึง 3 เริ่มจาก niveau 0 เป็นภาวะแล้งในฤดูร้อนธรรมดาที่ไม่มีผลกระทบอะไรมาก จนถึง Niveau 3 […]
การมีอาชีพที่ 2 หรือ การมีรายได้เสริมไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับคนไทยในประเทศเนเธอร์แลนด์ และเชื่อว่ามีไม่น้อยเลยก็แอบกังวลถึงเรื่องงานเอกสารและการเสียภาษี
ไทสมาคม จึงได้จัดสัมนาออนไลน์ ให้ความรู้ FREE เรื่องนี้ขึ้น
การปลูกดอกทิวลิป Tulip (Tulpen) ทิวลิป เป็นพืชหัว การปลูกทำได้โดยการฝังหัวดอกไม้ไว้ในดิน เมื่อถึงฤดูกาล ทิวลิปจะโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินเพื่อผลิบาน ทิวลิปนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ มีสีสันที่สดใส เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ และเป็นหนึ่งในดอกไม้ที่มีชื่อเสียงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝังหัวดอกไม้ : ช่วงเดือน กันยายน – ธันวาคม (ระวัง ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่อากาศติดลบ เพราะอาจจะทำให้หัวทิวลิปตายได้) ช่วงเวลาที่ผลิบาน : กุมภาพันธ์ – มีนาคม (ตามสภาพอากาศ หากอากาศหนาวยาวนาน ระยะเวลาบานอาจเป็นเมษายน – พฤษภาคม) วิธีการปลูก ควรฝังหัวทิวลิปในฤดูใบไม้ร่วง คือระหว่างช่วงเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม โดยจะปลูกโดยการขุดหลุมลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร แล้วกลบดินทับ เว้นระยะระยะห่างประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร หลังจากนั้นให้รดน้ำทิวลิปให้ทั่วจนดินชุ่มชื้นดี เป็นการกระตุ้นการสร้างราก สามารถคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินที่มีความหนา 2 เซนติเมตร […]
ก่อนจะไปถึง e-Visa ขอแชร์ข้อมูลพื้นฐานสั้น ๆ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน วีซ่า หรือที่มีชื่อไทยแบบเต็ม ๆ ว่า การตรวจลงตรา คือ เอกสาร (ไม่ว่าหน้าตาจะเป็นสติกเกอร์ ตราประทับ หรือเอกสารเป็นแผ่น ๆ) ที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้กับพลเมืองของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อใช้ในการเดินทางเข้าประเทศที่รัฐบาลนั้นบริหารอยู่ ดังนั้น หากเราไม่ใช่พลเมืองของประเทศที่เราจะไป เรามักจะต้องใช้วีซ่าเพื่อเข้าประเทศนั้น (บางกรณีอาจได้รับยกเว้น หรือใช้เอกสารอื่นแทนได้ เช่น บัตรผู้พำนัก) หน่วยงานที่มีหน้าที่ออกวีซ่าก็คือตัวแทนของรัฐบาลนั้นในประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นสถานทูต หรือสถานกงสุล และวีซ่าบางประเภทก็ออกโดยตรงโดยหน่วยงานในประเทศนั้น เช่น สตม. ที่ไทย หรือ IND ที่เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ดังนั้น หากเราจะไปที่ใดและต้องใช้วีซ่า เราก็ต้องติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศที่เราจะไป ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่เราอยู่ในขณะนั้นหรือมีอำนาจดูแลประเทศที่เราอยู่ ดังนั้น วีซ่า ไม่ใช่ หนังสือเดินทาง และหนังสือเดินทาง ก็ไม่ใช่วีซ่า คนไทยจะมาเนเธอร์แลนด์ ก็ต้องติดต่อสถานทูตดัตช์ที่ไทย ไม่ใช่สถานทูตไทยที่เนเธอร์แลนด์ คนไทยในเนเธอร์แลนด์จะไปอเมริกา ก็ต้องติดต่อสถานทูตอเมริกาในเนเธอร์แลนด์ คนไทยจะไปไทยโดยใช้หนังสือเดินทางไทย ไม่ต้องมีวีซ่าไทย e-Visa คือ […]
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2021 เป็นต้นไป ถ้าช็อปปิ้งออนไลน์อาจจ่ายแพงขึ้น ! ทั้งนี้เป็นเพราะเนเธอร์แลนด์จะต้องใช้กฎตามสหภาพยุโรป ที่ว่าด้วยเรื่องการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (BTW) สำหรับสินค้าที่จำหน่ายออนไลน์ เช่น Webshop หรือ Dropshipping ต่างๆ ทุกมูลค่าสินค้าที่สั่งจากประเทศนอกเขต EU จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (BTW) กฎเดิมนั้น จะมีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (BTW) สำหรับสินค้าจากนอก EU ที่มีมูลค่าไม่เกิน 22 ยูโร แต่กฎนี้จะถูกยกเลิกตั้งแต่วันที่ 01 กรกฎาคม 2021 เป็นต้นไป กล่าวคือ ผู้บริโภคที่สั่งสินค้าออนไลน์จากประเทศที่อยู่นอก EU จะต้องจ่าย BTW สำหรับของที่สั่งเข้ามา ไม่ว่าสินค้านั้นจะมีมูลค่าเท่าใดก็ตาม ก็เท่ากับว่าเราจ่ายแพงขึ้นนั่นเองค่ะ ตัวอย่างเช่น : คุณบาร์ทสั่งเสื้อราคา 10 ยูโร ผ่าน Aliexpress เมื่อของมาถึงที่เนเธอร์แลนด์ คุณบาร์ทจะต้องจ่าย BTW อีก 21% เท่ากับว่าคุณบาร์ทจะต้องจ่ายค่าเสื้อตัวนี้ เป็นเงิน […]
ตั้งแต่เมื่อต้นปี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก [สถานทูต] ได้เริ่มทยอยเปิดให้ทำนัดหมายจองคิวทาง online เพื่อเข้ารับบริการที่สถานทูต รวม 5 บริการ โดยเป็นบริการยอดฮิตสำหรับคนไทย 3 บริการ ได้แก่ บริการทำหนังสือเดินทางไทย (พาสปอร์ตไทย) บริการทำบัตรประชาชนไทย (ทำได้ล่วงหน้าไม่เกิน 60 วัน ก่อนบัตรหมดอายุ) บริการนิติกรณ์สำหรับคนไทย เช่น การทำหนังสือมอบอำนาจ (ไปทำหนังสือรับรองโสด หนังสือปกครองบุตร จัดการมรดก ฯลฯ) หนังสือให้ความยินยอมให้ลูกที่เมืองไทยทำหนังสือเดินทางไทย การรับรองลายมือชื่อพี่น้องคนไทยในการทำหนังสือสัญญากู้ยืม หรือจดจำนองกับธนาคารที่ประเทศไทย เป็นต้น ส่วนอีก 2 บริการ เป็นบริการที่มีชาวต่างชาติเป็นลูกค้าหลัก คือ (1) วีซ่า สำหรับชาวต่างชาติใช้เดินทางไปประเทศไทย และ (2) บริการรับรองเอกสารต่างชาติเพื่อนำไปใช้ที่ประเทศไทย เช่น แบบคัดย่อทะเบียนราษฎร์ดัตช์ ทะเบียนสมรสดัตช์ ใบคุณวุฒิการศึกษาดัตช์ ฯลฯ โดยไม่ว่าจะเป็นเอกสารใด จะต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศดัตช์ก่อนที่จะนำมารับรองที่สถานทูต และตามปกติหากจะนำไปใช้ที่ประเทศไทยก็จะต้องยื่นรับรองเอกสารพร้อมกับคำแปลภาษาไทยด้วย สำหรับบริการอื่น ๆ เช่น การจดทะเบียนเกิด […]
ถึงแม้ว่าการระบาดของโควิดยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ทุกคนก็เริ่มมีคนหวังว่าโลกจะเปิดอีกครั้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัส ทางรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญกับการฉีดวัคซีน
โรงเรียนดัตช์ ที่ใช้ระบบการศึกษาดัตช์กำหนด จะแบ่งเป็น โรงเรียนสำหรับ ระดับเบื้องต้น basisschool และ โรงเรียน มัธยม middelbaarschool โรงเรียนทั้งสองหน่วยนี้จะแยกจากกัน ต่างจากประเทศไทย ที่มักรวมไว้โรงเรียนเดียวตั้งแต่ชั้นเบื้องต้นจบจบมัธยม อายุบังคับการเรียนตามกฎหมายคือ 5 ถึง 16 ปี leerplicht leeftijd แต่ โรงเรียนประถมที่เรียกว่า basisschool กรุ๊ป 1 ถึง กรุ๊ป8 นั้น หลายโรงเรียน จะรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 4 ขวบ หมายถึงว่า โดยทั่วไปกรุ๊ป 1 ถึง 2 เปรียบเสมือน อนุบาล หรือ ชั้นก่อนวัยเรียน kleuterschool ในอดีตนั่นเอง การเรียนในระบบเบื้องต้น ระบบเบื้องต้นประกอบด้วยชั้นเรียนจากกรุ๊ป 1 ถึงกรุ๊ป 8 เด็กๆจะเริ่มเรียน อ่าน เขียน เลข ภูมิศาสตร์ ความรู้รอบตัว ส่วนภาษาอังกฤษ […]
ณ วันนี้นโยบายการรับมือกับ COVID ก็ยังไม่ผ่อนคลาย ร้านค้าร้านอาหารก็ยังต้องถูกปิดเพื่อลดการกระจายการแพร่เชื้อไวรัส ซึ่งมีผลกับการดำรงชีวิตของบุคคลทั่วๆไปโดยเฉพาะ กลุ่มเด็กวัยรุ่นที่ดูเหมือนรู้สึกว่าโดนกักกันสิทธิส่วนบุคคล