สวัสดีครับ วันนี้จะมาแนะนำเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับนามสกุลหลังจากการจดทะเบียนสมรสครับ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนน่าจะสนใจ การจดทะเบียนสมรสมาจากประเทศไทยนั้น เราสามารถเลือกใช้นามสกุลได้ 2 แบบคือ – นามสกุลเดิมของตัวเราเอง – นามสกุลของคู่สมรส หากเลือกใช้นามสกุลของ คู่สมรส นั้น ก่อนการขอ MVV ตอนเราเดินทางมาด้วย MVV แล้วเอาชื่อเข้าระบบฐานทะเบียนราษฎร์ของเนเธอร์แลนด์ นามสกุลที่เราใช้ก็จะเป็นนามสกุลของคู่สมรสอย่างเดียว (เพราะตอนเราทำเอกสารมา เราได้ยื่นเรื่องเปลี่ยนนามสกุล และมีใบเปลี่ยนนามสกุลมายืนยัน, passport ไทย ก็เป็นนามสกุลของคู่สมรส) อันนี้เป็นเงื่อนไขปรกติที่ไม่ซับซ้อน ข้อควรระวังคือ ในกรณีทีเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของคู่สมรสถาวร แล้วอยู่มาจนได้สัญชาติเนเธอร์แลนด์แล้ว วันนึงหากทำการอย่ากับคู่สมรสขึ้นมา หากจะกลับไปใช้นามสกุลเดิมของเราที่มีมาตั้งแต่เกิด จะต้องดำเนินเรื่องยื่นขอเปลี่ยนแปลงนามสกุลจากศาลเท่านั้น ไม่สามารถใช้วิธีเดิม โดยการนำทะเบียนหย่าไปปรับฐานข้อมูลทะเบียนครอบครัวที่เมืองไทยเหมือนกับตอนจดทะเบียนสมรสได้แล้ว (สามารถเปลี่ยนได้เฉพาะข้อมูลในส่วนของประเทศไทย เท่านั้น โดยกลับไปใช้นามสกุลเดิม เป็นโสดเหมือนเดิม) เพราะ ณ ตอนนี้เราได้เป็นประชากรของเนเธอร์แลนด์โดยสมบูรณ์โดยใช้นามสกุลของคู่สมรส ซึ่งกฎหมายของเนเธอร์แลนด์นั้นไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงนามสกุลจากการสมรส ตอนที่เรามาด้วย mvv visa โดยนำเอกสารที่เปลี่ยนแปลงนามสกุลมายื่นตอนเอาเข้าระบบที่เนเธอร์แลนด์นั้น ทางการเนเธอร์แลนด์ถือว่า นามสกุล(สามี)ที่เราเปลี่ยนมานั้น คือนามสกุลของเราจริงๆ ไม่ใช่ของสามี และมีค่าใช้จ่ายคร่าวๆในการขอเปลี่ยนเพื่อกลับไปใช้นามสกุลเดิมอยู่ที่ ตัวอักษรละ 800 euro […]
สวัสดีครับ วันนี้จะมาอธิบายถึงขั้นตอนและเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนสมรส/พาร์ทเนอร์ ครับ กรณีที่ 1 การจดทะเบียนสมรส/พาร์ทเนอร์ ใน เนเธอร์แลนด์ กรณีที่มาอยู่ที่นี่ด้วย MVV visa หรือมี residence permit ที่นี่แล้ว มีเงื่อนไขคือ – ทั้งคู่จะต้องอายุมากกว่า 18 ปี – ทั้งคู่จะต้องไม่ได้จดทะเบียนสมรส/พาร์ทเนอร์ กับใครคนอื่น เรียกง่ายๆว่า เพื่อป้องกันกาจดทะเบียนซ้อน – ต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกันทางสายเลือด – คนใดคนหนึ่งในคู่ของคุณจะต้องเป็นคนดัชท์ หรือ คนที่อาศัยอยู่ใน เนเธอร์แลนด์ สิ่งที่จะต้องทำ 3 อย่างคือ ประกาศความตั้งใจในการแต่งงาน (บาง Gemeente สามารถทำ online ได้ หรือสามารถนัด Gemeente เข้าไปยื่นเรื่องพร้อมกับเลือกวันเวลา และ สถานที่) เลือกวัน เวลา สถานที่ แจ้งบันทึกพยาน (หากวันที่ไปยื่นนัด Gemeente […]
ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อตัดสินใจ จะอยู่ด้วยกันกับใคร แล้ว มีทางเลือกอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ การจดทะเบียนสมรส หรือ การแต่งงาน (Huwelijk หรือ Trouwen) การจดทะเบียนพาร์ทเนอร์ (Geregistreerd partnerschap) การใช้ชีวิตอาศัยอยู่ด้วยกัน (Samenwonen) ความแตกต่างของการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในแบบต่างๆ ในเนเธอร์แลนด์ การที่ ชาย-หญิง หรือ ชายสองคน หรือ หญิงสองคน จะแต่งงานกัน หรือจะจดทะเบียนเป็นพาร์ทเนอร์กัน หรือจะทำสัญญาข้อตกลงในการอยู่ด้วยกัน (samenlevingscontract) ได้ หรือแม้แต่คุณใช้ชีวิตอาศัยอยู่ด้วยกันโดยไม่ต้องมีพันธะทางกฏหมายก็ได้เช่นกัน การแต่งงาน และการจดทะเบียนพาร์ทเนอร์ การแต่งงานและการจดทะเบียนพาร์เนอร์มีความคล้ายกันอย่างมาก การจดทะเบียนทั้ง 2 แบบนี้ ต่างก็มีผลทางกฏหมาย มีขั้นตอนการจดทะเบียนคล้ายกัน แต่ความแตกต่างก็มีเมื่อ คุณมีบุตรมาก่อน หรือมีบุตรร่วมกัน และเมื่อจดทะเบียนกันแล้ว คุณและคุ่ชิวีตของคุณจะร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินและสมบัติร่วมกัน(ระหว่างที่อยู่ด้วยกัน )แบบ 50/50 ไปโดยอัตโนมัติ (ทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มีมาก่อนของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง หากหย่าร้างกันขึ้นไม่ อีกฝ่ายไม่ต้องรับผิดชอบภาระในส่วนนั้น กฎนี้บังคับใช้เฉพาะสำหรับคนที่แต่งงานหลังวันที่ 1 […]
HUWELIJKSVERMOGENSRECHT รัฐบาลดัตช์ ประกาศปรับกฏหมายว่าดว้ยเรื่องสินสมรส! มีผลประกาศใช้ เมื่อ 1 มกราคม 2018 เป็น ต้นมา การแต่งงาน (Huwelijk) หรือ จดทะเบียนพาร์ทเนอร์ (Geregistreerd partnerschap) ตามกฎหมายในเนเธอร์แลนด์ คุณสามารถเลือกเงื่อนไขได้ดังต่อไปนี้ แต่งงานแบบแบ่งสมบัติและหนี้สิน แต่งงานจดทะเบียนแบบมีเงื่อนไข การสมรสก่อน 1 มกราคม 2018 ตามกฎหมายหากไม่มีการทำเอกสารลงทะเบียนใด ๆ คุณได้ จดทะเบียนแบบแบ่งสมบัติและหนี้สิน มรดกและทรัพย์สินตกทอดจัดเป็นส่วนหนึ่งของสมบัติที่มีร่วมกัน ในบางกรณีอาจเข้าการยกเว้น เช่นการรับ มรดกจากผู้ให้ที่ได้มีการระบุชัดเจนในพินัยกรรม กรณีที่มีการหย่าร้าง ทั้งทรัพย์สินและหนี้สินจะหารครึ่งทั้งหมด การสมรสตั้งแต่ 1 มกราคม 2018 มีการจำกัดการแบ่งทรัพย์สินและหนี้สิ้นดังนี้ ทรัพย์สินและหนี้สินก่อนการแต่งงานถือเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล มรดกและทรัพย์สินตกทอด ก่อนหรือหลังแต่งงานเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล ผู้ให้มรดกสามารถระบุในพินัยกรรมได้ ว่าคู่สมรสจะมีส่วนในทรัพย์สมบัตินั้นๆ หรือไม่ กิจการบริษัทของคุณก่อนการจดทะเบียน ถือเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล กรณีการหย่าร้าง คู่สมรสจะหารครึ่งทรัพย์สินและหนี้สินในระยะเวลาหลังการจดทะเบียนเท่านั้น การพิสูจน์หลักฐานของทรัพย์สินส่วนบุคคล ในกรณีของการหย่าร้าง คุณต้องสามารถแสดงให้เห็นว่าเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล เช่นใบแสดงการซืือขาย หรือพินัยกรรมการรับมรดกตกทอด เป็นต้น […]