ตั้งแต่มีโควิด-19 เข้ามา หลายคนก็ได้รับผลกระทบต่างๆมากมาย ที่กระทบหนักเลยก็คือเรื่อง “เงินในกระเป๋าสตางค์” ของเรานั่นเอง ที่ผ่านมาหลายคนเคยแอบบ่นเสียดายกับเงินที่ตัวเองต้องเสียภาษี แต่พอมีโควิดเข้ามามันสะท้อนให้หลายคนเห็นชัดเจนขึ้นว่า ภาษีที่เสียไปมันไม่ได้เสียปล่าว คนที่ทำงานเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย คุณก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และแน่นอนว่าเมื่อคุณมีรายได้สูงเสียภาษีสูงก็จริง แต่การได้รับความคุ้มครองของคุณก็สูงเช่นกัน หัวอกลูกจ้าง(ชั่วคราว) รัฐบาลมองเห็นแล้วว่าจากผลของโควิด-19 จะทำให้มีการถูกเลิกจ้างเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีมาตรการให้เงินช่วยเหลือแก่นายจ้าง เพื่อช่วยเหลือเรื่องค่าจ้างงานที่เรียกว่า NOW เงินนี้จะช่วยพยุงให้นายจ้างสามารถจ่ายเงินเดือนพนักงานต่อไปได้ในช่วงที่เกิดโควิด แต่ดูเหมือนว่า เงิน NOW นี้จะช่วยได้เฉพาะคนที่ยังอยู่ในอายุสัญญาจ้างเท่านั้น หลายคนที่สัญญาหมดลงในช่วงโควิดถูกนายจ้างปฎิเสธการต่อสัญญาเพราะนายจ้างส่วนใหญ่เริ่มไม่มั่นใจในเศรษฐกิจ หรือบางคนหันไปใช้ zzpér แทนเพื่อลดภาระผูกพัน คนที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวอย่างเราๆ เลยตกที่นั่งลำบาก “ไม่มีงาน ไม่มีเงิน” ทำอย่างไรเมื่อนายจ้างไม่ต่อสัญญา? สิ่งแรกที่ควรนึกถึงและต้องถามตัวเองคือ ที่ผ่านมาเราทำงานแสดงรายได้และเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ หากเราได้ทำตามถูกต้องแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะขอใช้สิทธิ์จากเงินภาษีที่เสียไป คือการของรับเงินช่วยเหลือต่างๆ นั่นเอง TOFA – เงินช่วยเหลือสำหรับลูกจ้างแบบชั่วคราว ถ้าเราเป็นลูกจ้างแบบชั่วคราวที่ไม่เข้าข่ายได้รับเงินช่วยเหลือใด ๆ สามารถตรวจสอบเงื่อนไขอื่นๆ เพื่อขอเงินช่วยเหลือ Tijdelijke Overbruggingsregeling voor Flexibele Arbeidskrachten (TOFA) […]
เมื่อถึงต้นปี ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆ รวมไปจนถึงกฎหมายด้านภาษี ไทสมาคม หยิบเอา 2 ประเด็นสำคัญด้านภาษี มาสรุปให้คนไทยได้อ่านเพื่ออัพเดทกันค่ะ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Inkomstenbelasting) ปรับเหลือแค่ 2 เรท การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เนเธอร์แลนด์จะจัดเก็บแบบอัตราก้าวหน้า หรือที่เรียกง่ายๆว่า อัตราภาษีแบบขั้นบันได โดยอัตราภาษีจะสูงขึ้นเรื่อยๆตามลำดับขั้น เมื่อฐานภาษี(รายได้)สูงขึ้น ก่อนนี้อัตราภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 4 อัตรา แต่จากปี 2020 เป็นต้นไป ภาษีเงินได้ จะถูกปรับเหลือแค่ 2 อัตรา คือ ผู้ที่มีรายได้น้อยกว่ากับรายได้มากกว่า €68.507,- เท่านั้น ตารางแสดงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2020 รายได้ (ยูโร/ปี) อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา €1 – €68.507,- 37.35% > มากกว่า €68.507,- 49.50% ถ้ามองแค่อัตราภาษีที่มีการเปลี่ยนแปลง อาจจะดูเหมือนว่าผู้ที่มีรายได้น้อยจะต้องจ่ายภาษีมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ความจริงแล้วรัฐบาลก็ได้ปรับในส่วนอื่นๆ เพื่อให้เกิดความสมดุล โดยมีการปรับเพิ่มสิทธ์ลดหย่อนภาษี ตัวที่เรียกว่า Algemene […]
สรุปสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ Kindgebonden budget middeninkomens omhoog ผู้ปกครองที่มีรายได้ปานกลาง (ประมาณ 321,000 ครอบครัว) จะได้รับเงิน kinderbonden เพิ่มอีก €990 นอกจากนี้ยังมีผู้ปกครอง (ประมาณ 294,000 ครอบครัว) จะได้รับเงินช่วยเหลือตัวนี้ด้วยจนกระทั่งบุตรอายุ 18 ปี ค่าเฉลี่ยที่จะได้รับอยู่ที่ €610 ต่อปี Langer geboorteverlof voor partners เริ่มจาก 1 กรกฎาคม 2020 คู่สมรสของผู้หญิงที่มีบุตร สามารถขอยื่น geboorteverlof หรือการหยุดงานเนื่องจากมีบุตร เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ โดยได้รับค่าแรง 70% ของเงินเดือนปกติ การให้วันหยุดที่เพิ่มขึ้น มาจากพื้นฐานความคิดที่ว่า การเริ่มต้นสร้างครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ โดยมารดา คู่สมรสและบุตรจะได้ใช้เวลาร่วมกัน เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่และบุตร นอกจากนั้นการแบ่งความรับผิดชอบในบ้านจะสามรถแบ่งอย่างเท่าเทียมกันได้ตั้งแต่เริ่มการมีบุตร Toekomstbestendig pensioen สนธิสัญญาเรื่องเงินบำนาญ มีการใส่ใจรายละเอียดย่อยส่วนบุคคลและเตรียมรับให้เข้าสถานการณ์ในอนาคต ซึ่งอายุเกษียณจะมีการเพิ่มที่ช้าลง และหยุดที่อายุ […]
การมีคู่สมรส/พาร์ทเนอร์/แฟน เป็นคนเนเธอร์แลนด์นั้น ส่วนหนึ่งที่ทุกคนแอบหวังและตั้งใจคือวันหนึ่งเราจะสามารถถือสัญชาติ เนเธอร์แลนด์ เช่นเดียวกันกับ คู่สมรส/พาร์ทเนอร์/แฟน ของเรา ซึ่งจะทำให้เรากลายเป็นพลเมือง EU Citizen สามารถไปอาศัยอยู่ที่ประเทศไหน ๆ ก็ได้ในยุโรป หรือแม้กระทั่งการเดินทางได้เกือบจะรอบโลกโดยที่ไม่ต้องมานั่งกังวลถึงการทำวีซ่าในแต่ละครั้ง แต่…ตัวของเรานั้น กับ คู่สมรส/พาร์ทเนอร์/แฟน ของเรา ไม่ได้อาศัยอยู่ใน เนเธอร์แลนด์ เหมือนคู่อื่น ๆ อาจจะด้วยเหตุผล คู่สมรส/พาร์ทเนอร์/แฟน ของเรานั้น ทำงานอยู่ต่างประเทศ ไม่ได้อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ หรือ แม้ กระทั่ง คู่สมรส/พาร์ทเนอร์/แฟน ของเรา มาอาศัยอยู่กับเราที่ประเทศไทย ในบทความนี้จะมาอธิบายถึงขั้นตอนต่าง ๆ ในการขอสัญชาติดัตช์ แบบ Naturalisation ในกรณีที่ คู่สมรส/พาร์ทเนอร์/แฟน ของเรา และ ตัวเรานั้น ไม่ได้อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ เงื่อนไขในการขอสัญชาติดัตช์ ในกรณีที่ ไม่ได้อาศัยอยู่ใน เนเธอร์แลนด์ อายุมากกว่า 18 ปี คุณอาศัยอยู่ในประเทศที่ตัวคุณไม่ได้ถือสัญชาติอยู่ คุณจะต้องจดทะเบียนสมรส/พาร์ทเนอร์ กับ แฟนของคุณ […]
การอยู่เนเธอร์แลนด์นั้นคงจะดีไม่น้อยถ้าวันนึงเราสามารถถือสัญชาติเนเธอร์แลนด์ได้ แต่กฎการขอสัญชาติเป็นยังไง วันนี้จะมาอธิบายให้ฟังอย่างละเอียดครับ เนื่องจากว่า เบียร์ได้รับคำถามเข้ามาบ่อยมากเกี่ยวกับการขอสัญชาติ บางคนบอกว่าต้องอยู่ครบ 5 ปีก่อน บางคนบอกอยู่ครบแค่ 3 ปี ก็สามารถขอได้ แล้วความจริงเป็นแบบไหน วันนี้จะมาอธิบายให้ฟังกันครับ เงื่อนไขการขอสัญชาติเนเธอร์แลนด์ บุคคลสัญชาติไทยที่จะสามารถขอสัญชาติเนเธอร์แลนด์ได้ สามารถขอได้ 2 แบบ คือ Naturalisatie Optie การขอสัญชาติแบบ Naturalisatie คราวนี้เรามาดูเงื่อนไขการขอสัญชาติแบบ Nuturalisatie กันก่อนครับ อายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเนเธอร์แลนด์ติดต่อกันมาอย่างน้อย 5 ปี แบบถูกกฎหมาย และ ต่อบัตรผู้อยู่อาศัยตลอดเวลา** ตอนที่ทำการสมัครขอสัญชาติ บัตรผู้อยู่อาศัย ยังไม่หมดอายุ และ บัตรผู้อยู่อาศัยจะต้องสามารถใช้ได้ โดยที่ยังไม่หมดอายุไปจนกว่าจะถึงพิธีรับสัญชาติ ได้ทำการสอบผ่าน Inburgerings หรือทดสอบวัดระดับภาษาผ่านอย่างน้อยระดับ A 2 ขึ้นไป ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยต้องโทษจำคุกหรือถูกให้ลงอาญา, ต้องโทษบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ และ ไม่เคยโดนค่าปรับใหญ่ๆทั้งในเนเธอร์แลนด์ […]
สวัสดีครับ วันนี้จะมาแนะนำเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับนามสกุลหลังจากการจดทะเบียนสมรสครับ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนน่าจะสนใจ การจดทะเบียนสมรสมาจากประเทศไทยนั้น เราสามารถเลือกใช้นามสกุลได้ 2 แบบคือ – นามสกุลเดิมของตัวเราเอง – นามสกุลของคู่สมรส หากเลือกใช้นามสกุลของ คู่สมรส นั้น ก่อนการขอ MVV ตอนเราเดินทางมาด้วย MVV แล้วเอาชื่อเข้าระบบฐานทะเบียนราษฎร์ของเนเธอร์แลนด์ นามสกุลที่เราใช้ก็จะเป็นนามสกุลของคู่สมรสอย่างเดียว (เพราะตอนเราทำเอกสารมา เราได้ยื่นเรื่องเปลี่ยนนามสกุล และมีใบเปลี่ยนนามสกุลมายืนยัน, passport ไทย ก็เป็นนามสกุลของคู่สมรส) อันนี้เป็นเงื่อนไขปรกติที่ไม่ซับซ้อน ข้อควรระวังคือ ในกรณีทีเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของคู่สมรสถาวร แล้วอยู่มาจนได้สัญชาติเนเธอร์แลนด์แล้ว วันนึงหากทำการอย่ากับคู่สมรสขึ้นมา หากจะกลับไปใช้นามสกุลเดิมของเราที่มีมาตั้งแต่เกิด จะต้องดำเนินเรื่องยื่นขอเปลี่ยนแปลงนามสกุลจากศาลเท่านั้น ไม่สามารถใช้วิธีเดิม โดยการนำทะเบียนหย่าไปปรับฐานข้อมูลทะเบียนครอบครัวที่เมืองไทยเหมือนกับตอนจดทะเบียนสมรสได้แล้ว (สามารถเปลี่ยนได้เฉพาะข้อมูลในส่วนของประเทศไทย เท่านั้น โดยกลับไปใช้นามสกุลเดิม เป็นโสดเหมือนเดิม) เพราะ ณ ตอนนี้เราได้เป็นประชากรของเนเธอร์แลนด์โดยสมบูรณ์โดยใช้นามสกุลของคู่สมรส ซึ่งกฎหมายของเนเธอร์แลนด์นั้นไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงนามสกุลจากการสมรส ตอนที่เรามาด้วย mvv visa โดยนำเอกสารที่เปลี่ยนแปลงนามสกุลมายื่นตอนเอาเข้าระบบที่เนเธอร์แลนด์นั้น ทางการเนเธอร์แลนด์ถือว่า นามสกุล(สามี)ที่เราเปลี่ยนมานั้น คือนามสกุลของเราจริงๆ ไม่ใช่ของสามี และมีค่าใช้จ่ายคร่าวๆในการขอเปลี่ยนเพื่อกลับไปใช้นามสกุลเดิมอยู่ที่ ตัวอักษรละ 800 euro […]
สวัสดีครับ วันนี้จะมาอธิบายถึงขั้นตอนและเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนสมรส/พาร์ทเนอร์ ครับ กรณีที่ 1 การจดทะเบียนสมรส/พาร์ทเนอร์ ใน เนเธอร์แลนด์ กรณีที่มาอยู่ที่นี่ด้วย MVV visa หรือมี residence permit ที่นี่แล้ว มีเงื่อนไขคือ – ทั้งคู่จะต้องอายุมากกว่า 18 ปี – ทั้งคู่จะต้องไม่ได้จดทะเบียนสมรส/พาร์ทเนอร์ กับใครคนอื่น เรียกง่ายๆว่า เพื่อป้องกันกาจดทะเบียนซ้อน – ต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกันทางสายเลือด – คนใดคนหนึ่งในคู่ของคุณจะต้องเป็นคนดัชท์ หรือ คนที่อาศัยอยู่ใน เนเธอร์แลนด์ สิ่งที่จะต้องทำ 3 อย่างคือ ประกาศความตั้งใจในการแต่งงาน (บาง Gemeente สามารถทำ online ได้ หรือสามารถนัด Gemeente เข้าไปยื่นเรื่องพร้อมกับเลือกวันเวลา และ สถานที่) เลือกวัน เวลา สถานที่ แจ้งบันทึกพยาน (หากวันที่ไปยื่นนัด Gemeente […]
ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อตัดสินใจ จะอยู่ด้วยกันกับใคร แล้ว มีทางเลือกอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ การจดทะเบียนสมรส หรือ การแต่งงาน (Huwelijk หรือ Trouwen) การจดทะเบียนพาร์ทเนอร์ (Geregistreerd partnerschap) การใช้ชีวิตอาศัยอยู่ด้วยกัน (Samenwonen) ความแตกต่างของการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในแบบต่างๆ ในเนเธอร์แลนด์ การที่ ชาย-หญิง หรือ ชายสองคน หรือ หญิงสองคน จะแต่งงานกัน หรือจะจดทะเบียนเป็นพาร์ทเนอร์กัน หรือจะทำสัญญาข้อตกลงในการอยู่ด้วยกัน (samenlevingscontract) ได้ หรือแม้แต่คุณใช้ชีวิตอาศัยอยู่ด้วยกันโดยไม่ต้องมีพันธะทางกฏหมายก็ได้เช่นกัน การแต่งงาน และการจดทะเบียนพาร์ทเนอร์ การแต่งงานและการจดทะเบียนพาร์เนอร์มีความคล้ายกันอย่างมาก การจดทะเบียนทั้ง 2 แบบนี้ ต่างก็มีผลทางกฏหมาย มีขั้นตอนการจดทะเบียนคล้ายกัน แต่ความแตกต่างก็มีเมื่อ คุณมีบุตรมาก่อน หรือมีบุตรร่วมกัน และเมื่อจดทะเบียนกันแล้ว คุณและคุ่ชิวีตของคุณจะร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินและสมบัติร่วมกัน(ระหว่างที่อยู่ด้วยกัน )แบบ 50/50 ไปโดยอัตโนมัติ (ทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มีมาก่อนของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง หากหย่าร้างกันขึ้นไม่ อีกฝ่ายไม่ต้องรับผิดชอบภาระในส่วนนั้น กฎนี้บังคับใช้เฉพาะสำหรับคนที่แต่งงานหลังวันที่ 1 […]