เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ Cold War

 สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ทุกวันนี้ข่าวรายวันคงจะไม่พ้นเรื่องสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย สงครามที่เริ่มจากสองประเทศแต่มีผลกระทบกับคนทั่วโลก ทั้งข้าวของที่ราคาแพงขึ้นเนื่องจากการขาดแคลนน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ขาดแคนแหล่งผลิตอาหารระดับโลกเช่นน้ำมันดอกทานตะวันและแป้งสาลี ผู้คนอพยพหลบหนีสงคราม ยิ่งถ้าสงครามยืดเยื้อผลกระทบก็จะยิ่งบานปลาย เมื่อใดที่สงครามนี้จบลง เราก็คงจะจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์อีกครั้ง ถ้าติดตามข่าวที่ผ่านมา บางครั้งนักข่าวจะอ้างอิงถึง Cold War เพื่อนๆสงสัยไหมว่า Cold War คืออะไร และเกี่ยวอะไรกับสงครามนี้ เรามาเรียนจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมากันเถอะ Cold War เป็นช่วงเวลาแห่งความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตและพันธมิตร ซึ่งเริ่มขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1945 ที่ใช้คำว่า Cold War เพราะไม่มีการสู้รบเป็นสงครามระหว่างสองประเทศ แต่ให้การสนับสนุนด้านต่างๆกับประเทศฝ่ายตน   กลุ่มตะวันตกนำโดยสหรัฐอเมริกาและประเทศที่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นเสรีประชาธิปไตย ได้สร้างพันธมิตรทางทหารของ NATO ในปี 1949 เพื่อจับกุมการโจมตีของสหภาพโซเวียตและตั้งนโยบายระดับโลกเพื่อต่อต้านการควบคุมอิทธิพลของสหภาพโซเวียต  สหภาพโซเวียตได้ก่อตั้งสนธิสัญญาวอร์ซอในปี 1955 เพื่อตอบสนองต่อ NATO  วิกฤตการณ์ที่สำคัญของช่วงนี้ ได้แก่ การปิดล้อมเบอร์ลินปี 1948–1949, สงครามกลางเมืองจีนปี 1927–1949, สงครามเกาหลีปี 1950–1953, การปฏิวัติฮังการีปี 1956, วิกฤตการณ์สุเอซปี 1956, วิกฤตการณ์เบอร์ลินในปี 1961 และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาปี […]

เตรียมตัวให้พร้อม ถาม-ตอบ ก่อนย้ายกลับไทย

ใครมาอยู่เนเธอร์แลนด์นานๆ นึกอยากกลับบ้าน แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี  เราน่าจะมีคำตอบให้คุณ  กลุ่มคนไทย-ดัตช์กลับบ้านร่วมกับไทสมาคมจัดเสวนาเรื่อง  “เตรียมตัวให้พร้อม ถาม-ตอบ ก่อนย้ายกลับไทย “ วันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2022 เวลา 11:00 น. เวลาเนเธอร์แลนด์ หรือ 16:00 น. เวลาประเทศไทย  โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก และเพื่อนๆที่กลับไทยไปแล้ว มาเล่าประสบการณ์ให้ฟังนะคะ หลังจากนั้นถ้าเพื่อนๆมีข้อสงสัยเราจะมีเวลาให้ถามตอบเต็มที่ค่ะ  Guest Speaker เจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตไทย  ณ. กรุงเฮก คุณพินทุวรรณ คลายเซน ย้ายกลับมาทำงานพร้อมสามีเกษียณ คุณเสริมศรี บุญสุตม์ ย้ายกลับมาเกษียณพร้อมสามี คุณสุรเชษฐ์ พรประสาทศิลป์ หนุ่มไทยย้ายมาพร้อมสามี คุณนวลพรรณ ไปเปอร์ส ย้ายกลับมาพร้อม สามีเกษียณ ลูกสาวและแมว คุณภิญญา ทรงเจริญ ย้ายมากับสามีที่มาทำงานพร้อมลูกสาวเล็กๆ  งานนี้จัดผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom meeting online  สามารถใช้งานได้ทุกที่ผ่าน […]

STAP-Budget เงินช่วยเหลือที่ให้มากกว่าตัวเงิน

STAP-budget หรือ Stimulans ArbeidsmarktPositie คือเงินทุนช่วยเหลือที่รัฐบาลจัดสรรมาให้พลเมืองใช้เสริมทักษะการเรียนรู้เพื่อการงาน ทดแทนการยื่นหักภาษีในอดีตที่รัฐบาลเพิ่งเปลี่ยนรูปแบบในปี 2022

Update NS Flex และ abonnementen 

NS Flex

NS Flex และ abonnementen    NS Flex เป็นผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างใหม่ (เริ่มใช้งานเมื่อปี 2018) ซึ่งช่วยให้สามารถเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทได้โดยไม่ต้องตัดเงินผ่านบัตร (รูปแบบเก่าจะหักเงินจากบัญชีเมื่อมียอดเงินคงเหลือใยบัตรต่ำกว่า 20€) NS Flex จะเรียกเก็บค่าบริการที่เราใช้ตามจริงรายเดือนผ่านทางใบแจ้งหนี้ (factuur) นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยน abonnement เช็คประวัติการเดินทาง ดูใบแจ้งหนี้ย้อนหลังผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ Mijn NS ข้อเสีย ของการใช้ผลิตภัณฑ์นี้คือ เราจะไม่สามารถเห็นราคาค่าโดยสารได้ตอนที่ Check-out (แต่สามารถเช็คภายหลังได้ที่แอพลิเคชั่น NS หรือ Mijn NS บนเวปไซต์ Abonnement (subscription) คือการสมัครสมาชิกกับทาง NS เพื่อที่จะนำมาใช้เป็นส่วนลดในราคาพิเศษเมื่อเราใช้บริการในการโดยสารรถไฟกับทาง NS  abonnement ทั้งหมดของ NS Flex มีดังต่อไปนี้ Reizen met korting เดินทางแบบมีส่วนลด Weekend Voordeel ส่วนลดช่วงสุดสัปดาห์ 2 ยูโร ต่อเดือน สามารถใช้ลดราคาค่าโดยสารในช่วงสุดสัปดาห์ […]

การเดินทางในประเทศเนเธอร์แลนด์ 

OV Travel in NL

การปลูกดอกไม้ในเนเธอร์แลนด์

การปลูกดอกไม้

การปลูกดอกทิวลิป  Tulip (Tulpen) ทิวลิป เป็นพืชหัว การปลูกทำได้โดยการฝังหัวดอกไม้ไว้ในดิน เมื่อถึงฤดูกาล ทิวลิปจะโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินเพื่อผลิบาน ทิวลิปนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ มีสีสันที่สดใส เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ และเป็นหนึ่งในดอกไม้ที่มีชื่อเสียงของประเทศเนเธอร์แลนด์   ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝังหัวดอกไม้ : ช่วงเดือน กันยายน – ธันวาคม (ระวัง ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่อากาศติดลบ เพราะอาจจะทำให้หัวทิวลิปตายได้)   ช่วงเวลาที่ผลิบาน : กุมภาพันธ์ – มีนาคม (ตามสภาพอากาศ หากอากาศหนาวยาวนาน ระยะเวลาบานอาจเป็นเมษายน – พฤษภาคม)   วิธีการปลูก ควรฝังหัวทิวลิปในฤดูใบไม้ร่วง คือระหว่างช่วงเดือนกันยายน ถึง ธันวาคม โดยจะปลูกโดยการขุดหลุมลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร แล้วกลบดินทับ เว้นระยะระยะห่างประมาณ 12 – 15 เซนติเมตร หลังจากนั้นให้รดน้ำทิวลิปให้ทั่วจนดินชุ่มชื้นดี เป็นการกระตุ้นการสร้างราก สามารถคลุมดินด้วยวัสดุคลุมดินที่มีความหนา 2 เซนติเมตร […]

เตรียมตัวอย่างไร เมื่อโรคโควิดยังอยู่ 😷

จากข้อมูลล่าสุดถึงวันที่ 16 ก.พ. 2022 ตั้งแต่เริ่มมีโควิดมา ตอนนี้ประเทศเนเธอร์แลนด์ตอนนี้ก็รายงานผลตรวจว่าติดเชื้อกันไป 5.85 ล้านรายแล้ว จากประชากรในประเทศทั้งหมด 17.6 ล้านคน คิดเป็นตัวเลขง่ายๆ ก็ ⅓ ของประชากรทั้งหมด   โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่มี โอมิครอน มาเมื่อปลายปีที่แล้ว ตัวเลขผู้ติดเชื้อก็ขึ้นฮวบๆ รายงานล่าสุดจาก RIVM  ตัวเลข 7 วันย้อนหลังจากรายงานเมื่อวันที่ 18 ก.พ. พบว่าตรวจติดเชื้อ 83,440 ราย หรือ 57.3% ของผู้เข้ารับการตรวจ ถึงแม้ตัวเลขจะยังสูงอยู่ แต่ก็ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับตัวเลข 149,875 รายต่อวันเมื่อต้นเดือนก.พ. แถลงการณ์ล่าสุดจากที่รัฐบาลประกาศเมื่อวันที่ 15 ก.พ.ก็จะมีการผ่อนคลายมาตรการโควิดทุกอย่างอย่างเป็นขั้นตอน ไม่ได้แปลว่าตอนนี้โึควิดหายไปนะคะ แต่แปลว่าเราต้องอยู่ร่วมกับโควิดอย่างเป็นทางการแล้ว เพราะฉะนั้นเตรียมตัวไว้เลยค่ะ สิ่งที่ทุกบ้านควรมี ยาสามัญประจำบ้านและชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง มาเตรียมตัวกันค่ะ การปฏิบัติตัวเมื่อติดโควิด เมื่อ e-mail แจ้งว่าผลมาแล้ว เราก็ต้อง log in ที่ coronatest.nl […]

e-Visa อิหยังวะ

ก่อนจะไปถึง e-Visa ขอแชร์ข้อมูลพื้นฐานสั้น ๆ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน วีซ่า หรือที่มีชื่อไทยแบบเต็ม ๆ ว่า การตรวจลงตรา คือ เอกสาร (ไม่ว่าหน้าตาจะเป็นสติกเกอร์ ตราประทับ หรือเอกสารเป็นแผ่น ๆ) ที่รัฐบาลประเทศหนึ่งออกให้กับพลเมืองของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อใช้ในการเดินทางเข้าประเทศที่รัฐบาลนั้นบริหารอยู่ ดังนั้น หากเราไม่ใช่พลเมืองของประเทศที่เราจะไป เรามักจะต้องใช้วีซ่าเพื่อเข้าประเทศนั้น (บางกรณีอาจได้รับยกเว้น หรือใช้เอกสารอื่นแทนได้ เช่น บัตรผู้พำนัก) หน่วยงานที่มีหน้าที่ออกวีซ่าก็คือตัวแทนของรัฐบาลนั้นในประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นสถานทูต หรือสถานกงสุล และวีซ่าบางประเภทก็ออกโดยตรงโดยหน่วยงานในประเทศนั้น เช่น สตม. ที่ไทย หรือ IND ที่เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น ดังนั้น หากเราจะไปที่ใดและต้องใช้วีซ่า เราก็ต้องติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศที่เราจะไป ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่เราอยู่ในขณะนั้นหรือมีอำนาจดูแลประเทศที่เราอยู่    ดังนั้น วีซ่า ไม่ใช่ หนังสือเดินทาง และหนังสือเดินทาง ก็ไม่ใช่วีซ่า คนไทยจะมาเนเธอร์แลนด์ ก็ต้องติดต่อสถานทูตดัตช์ที่ไทย ไม่ใช่สถานทูตไทยที่เนเธอร์แลนด์ คนไทยในเนเธอร์แลนด์จะไปอเมริกา ก็ต้องติดต่อสถานทูตอเมริกาในเนเธอร์แลนด์ คนไทยจะไปไทยโดยใช้หนังสือเดินทางไทย ไม่ต้องมีวีซ่าไทย e-Visa คือ […]

ช็อปปิ้งออนไลน์นอกประเทศ EU อาจจ่ายแพงขึ้น !

ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2021 เป็นต้นไป  ถ้าช็อปปิ้งออนไลน์อาจจ่ายแพงขึ้น ! ทั้งนี้เป็นเพราะเนเธอร์แลนด์จะต้องใช้กฎตามสหภาพยุโรป ที่ว่าด้วยเรื่องการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (BTW) สำหรับสินค้าที่จำหน่ายออนไลน์ เช่น Webshop หรือ Dropshipping ต่างๆ  ทุกมูลค่าสินค้าที่สั่งจากประเทศนอกเขต EU จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (BTW) กฎเดิมนั้น จะมีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (BTW) สำหรับสินค้าจากนอก EU ที่มีมูลค่าไม่เกิน 22 ยูโร แต่กฎนี้จะถูกยกเลิกตั้งแต่วันที่ 01 กรกฎาคม 2021 เป็นต้นไป กล่าวคือ ผู้บริโภคที่สั่งสินค้าออนไลน์จากประเทศที่อยู่นอก EU จะต้องจ่าย BTW สำหรับของที่สั่งเข้ามา ไม่ว่าสินค้านั้นจะมีมูลค่าเท่าใดก็ตาม  ก็เท่ากับว่าเราจ่ายแพงขึ้นนั่นเองค่ะ ตัวอย่างเช่น : คุณบาร์ทสั่งเสื้อราคา 10 ยูโร ผ่าน Aliexpress  เมื่อของมาถึงที่เนเธอร์แลนด์ คุณบาร์ทจะต้องจ่าย BTW อีก 21% เท่ากับว่าคุณบาร์ทจะต้องจ่ายค่าเสื้อตัวนี้ เป็นเงิน […]

นัดคิว online เข้ารับบริการกับสถานทูต

จองคิวออนไลน์ทำพาสปอร์ต

ตั้งแต่เมื่อต้นปี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก [สถานทูต] ได้เริ่มทยอยเปิดให้ทำนัดหมายจองคิวทาง online เพื่อเข้ารับบริการที่สถานทูต รวม 5 บริการ โดยเป็นบริการยอดฮิตสำหรับคนไทย 3 บริการ ได้แก่  บริการทำหนังสือเดินทางไทย (พาสปอร์ตไทย) บริการทำบัตรประชาชนไทย (ทำได้ล่วงหน้าไม่เกิน 60 วัน ก่อนบัตรหมดอายุ) บริการนิติกรณ์สำหรับคนไทย เช่น การทำหนังสือมอบอำนาจ (ไปทำหนังสือรับรองโสด หนังสือปกครองบุตร จัดการมรดก ฯลฯ) หนังสือให้ความยินยอมให้ลูกที่เมืองไทยทำหนังสือเดินทางไทย การรับรองลายมือชื่อพี่น้องคนไทยในการทำหนังสือสัญญากู้ยืม หรือจดจำนองกับธนาคารที่ประเทศไทย เป็นต้น   ส่วนอีก 2 บริการ เป็นบริการที่มีชาวต่างชาติเป็นลูกค้าหลัก คือ (1) วีซ่า สำหรับชาวต่างชาติใช้เดินทางไปประเทศไทย และ (2) บริการรับรองเอกสารต่างชาติเพื่อนำไปใช้ที่ประเทศไทย เช่น แบบคัดย่อทะเบียนราษฎร์ดัตช์ ทะเบียนสมรสดัตช์ ใบคุณวุฒิการศึกษาดัตช์ ฯลฯ โดยไม่ว่าจะเป็นเอกสารใด จะต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศดัตช์ก่อนที่จะนำมารับรองที่สถานทูต และตามปกติหากจะนำไปใช้ที่ประเทศไทยก็จะต้องยื่นรับรองเอกสารพร้อมกับคำแปลภาษาไทยด้วย สำหรับบริการอื่น ๆ เช่น การจดทะเบียนเกิด […]