ปฐมพยาบาลเบบี๋และเด็กน้อยเดอะซีรีย์ (EHBO aan baby’s en kinderen de serie) EP.3 แผลที่ผิวหนัง (Huidwonden)

เด็กน้อยมักจะมาคู่กับความซน บางวันเจ้าตัวน้อยของคุณแม่อาจกลับบ้านมาพร้อมกับแผลต่างๆตามตัว ซึ่งโอกาสลูกๆของคุณแม่จะเกิดแผลแบบนี้ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ในบทความนี้ เราจะมาดูกันค่ะว่าเราจะทำการปฐมพยาบาลในกรณีที่เกิดแผลที่ผิวหนังอย่างไร

มาทำความรู้จักแผลที่ผิวหนังกัน

เมื่อเกิดแผลที่ผิวหนัง การยึดติดกันของชั้นผิวหนังจะมีการแยกออกจากกัน ส่วนแผลที่ผิวหนังที่ลึกยังสามารถทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (กล้ามเนื้อและกระดูก) และแม้กระทั่งอวัยวะได้ อันตรายที่เกิดขึ้นได้จากแผลที่ผิวหนังคือ การติดเชื้อ

เราควรทำอย่างไรบ้าง

  • ดูลักษณะแผลว่าเป็นแผลเปิดหรือไม่ (เช่น แผลถลอก หรือแผลถูกของมีคมบาด)
  • ดูว่ามีน้ำ (ก๊อก) อยู่ใกล้ๆ

A: หนังกำพร้า B: หนังแท้ C: เนื้อเยื่อ เช่น ไขมันและกล้ามเนื้อ

แผลที่ผิวหนังคือ A อาจมีบางส่วนของ B ที่เกิดความเสียหาย

 

ทำการรักษาในกรณีที่มีน้ำอยู่บริเวณใกล้ๆ

คุณควรทำอะไร?

  • ในกรณีที่เลือดออกมาก ให้ทำการกดที่บาดแผล
  • ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น (น้ำดื่ม) หากไม่มีก๊อกน้ำก็สามารถใช้น้ำดื่มจากขวดได้
  • เช็ดบริเวณแผลให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
  • แผลรอยถลอกเล็กน้อยสามารถปล่อยให้แห้งจากอากาศได้
  • สำหรับแผลถลอกที่รุนแรง ให้ทำการปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่ปลอดเชื้อ

ในหัวข้อ ‘เลือดออก (bloeding)’ คุณจะได้เรียนรู้ว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้างในกรณีที่มีการเสียเลือดเป็นจำนวนมาก

หากไม่มีก๊อกน้ำก็สามารถใช้น้ำดื่มจากขวดได้เช่นกัน

 

ทำการรักษาในกรณีที่ไม่มีน้ำ

เฉพาะในกรณีที่ไม่มีน้ำก๊อก (หรือน้ำดื่ม) เท่านั้น ที่จะฆ่าเชื้อบาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ไร้สี

คุณควรทำอย่างไร?

  • ให้ล้างแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (เมื่อเลือดหยุดไหลแล้ว) 
  • เช็ดบริเวณแผลให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แผลถลอกเล็กน้อยสามารถปล่อยให้แห้งจากอากาศได้
  • สำหรับแผลถลอกที่รุนแรง ให้ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซที่ปลอดเชื้อ 

ผิวหนังรอบๆบริเวณแผลเล็กๆ สามารถทำความสะอาดได้ดีด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนประกอบของคลอเฮกซิดีน (Sterilon©) หรือแอลกอฮอล์ 70%

A. ล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ไร้สี (Sterilon©)

B. ทำความสะอาดแผลด้วยแอลกอฮอล์ 70%

 

แผลที่ผิวหนังที่พบบ่อย

แผลถลอก (Schaafwonden)

ลักษณะของแผล

  • แผลถลอกเป็นแผลที่ชั้นผิวหนังกำพร้า โดยที่ผิวชั้นบนมีการถลอก ผิวหนังชั้นหนังแท้อาจได้รับความเสียหายเล็กน้อย ทำให้เกิดเลือดออกเล็กน้อย 

คุณจะทำอย่างไร?

  • ในกรณีที่มีเลือดออกมาก ให้ทำการกดที่แผล
  • ล้างแผลด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำดื่ม หากไม่มีน้ำอยู่ในบริเวณนั้น คุณอาจใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ไร้สีได้
  • เช็ดบริเวณแผลให้แห้งด้วยผ้าสะอาด แผลถลอกเล็กน้อยสามารถปล่อยให้แห้งจากอากาศได้
  • ปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับขนาดของแผลหรือหากทำความสะอาดแผลได้ไม่ทั่วถึง

A. แผลถลอก

B. แผลถลอกและสิ่งสกปรก ให้ขจัดสิ่งสกปรกที่ผิวหนังด้วยแหนบ

 

แผลถูกของมีคมบาด (Snijwonden)

ลักษณะของแผล

  • แผลถูกของมีคมบาด คือ แผลที่ผิวหนังที่เกิดจากของมีคม เช่น มีดหรือกรรไกร ในแผลถูกของมีคมบาดเลือดเส้นเลือดใต้ผิวหนังจะมีการฉีกขาดซึ่งอาจทำให้บาดแผลมีเลือดออกมาก

คุณจะทำอย่างไร?

  • รักษาแผลถูกของมีคมบาด เหมือนกับ แผลที่ผิวหนัง
  • หากมีเลือดออกมาก ให้ทำตามที่คุณได้เรียนในหัวข้อ เลือดออก (Bloeding)
  • นอกจากการพันผ้าพันแผลอย่างรวดเร็วแล้ว แถบเย็บยังสามารถใช้เพื่อหยุดเลือดไหลในบาดแผลเล็กๆ ที่มีขอบแผลแหลมคมได้
  • เพื่อหยุดเลือดจากแผลถูกของมีคมบาดขนาดเล็ก สามารถทำการใช้ แผ่นปิดแผลแบบ hechtstrips แทน ผ้าพันแผลชนิด snelverband ได้

A. แผลถูกของมีคมบาด 

B. ติดแผ่นปิดแผลแบบ hechtstrips ที่แผลขนาดเล็กจากของมีคมบาด

 

แผลถูกกัด-ข่วน (Bijt- of krabwonden)

ลักษณะของแผล

  • เกิดจากการกัดหรือข่วนโดยสัตว์ เช่น ค้างคาว จิ้งจอก กระรอก สุนัข หรือแมว
  • เกิดจากการกัดโดยคน

คุณจะทำอย่างไร?

  • รักษาแผลถูกกัด-ข่วน เหมือนกับ แผลที่ผิวหนัง
  • เด็กควรไปพบแพทย์ทันที หลังจากถูกสัตว์กัด (ค้างคาว จิ้งจอก กระรอก สุนัข หรือแมว) เพราะอาจเกิดบาดทะยักหรือโรคพิษสุนัขบ้าได้ 
  • ไปพบแพทย์ด้วยเช่นกัน หากคุณมีแผลถูกกัดจากการถูกคนกัด 

A. แผลถูกกัดโดยสุนัข

B. ล้างแผลด้วยน้ำอุ่น

 

แผลพุพอง (Blaren)

ลักษณะของแผล

แผลพุพองแบบปิดหรือเปิด

คุณจะทำอย่างไร?

  • ควรพยายามให้แผลพุพองยังคงสภาพเดิม (ไม่ไปทำให้มักแตก) ตุ่มพองนั้นสามารถทำหน้าที่ปิดแผลได้ดีมาก และช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ โดยทำให้สภาพแวดล้อมของแผลชื้น ลดความเจ็บปวด และต้องการการรักษาเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องรักษาเลย แผลพุพองจะแห้งเองอย่างช้า ๆ ให้ทำการปิดแผลพุพอง โดยใช้ พลาสเตอร์ปิดแผลธรรมดา พลาสเตอร์ชนิด strook kleefpleister หรือพลาสเตอร์ชนิด fixatiepleister พลาสเตอร์แบบ eilandpleister (พลาสเตอร์ปิดแผลพร้อมแถบกาวรอบด้าน) หรือพลาสเตอร์แผลพุพองแบบไฮโดรคอลลอยด์ชนิดพิเศษ (speciale hydrocolloïd blarenpleister)
  • สิ่งสำคัญคือผ้าพันแผลต้องปิดแผลพุพองได้พอดี ไม่มีรอยย่น และไม่สามารถเคลื่อนไปมาได้ ยกเว้นพลาสเตอร์แผลพุพองแบบไฮโดรคอลลอยด์ (de hydrocolloïd blarenpleisters) ควรเปลี่ยนผ้าพันแผลหลังจากผ่านไปประมาณหนึ่งวัน
  • หากแผลพุพองเปิด: ให้ทำความสะอาดแผลพุพองและปิดแผลพุพองด้วยผ้าพันแผลที่ปลอดเชื้อ (พลาสเตอร์)
  • แผลที่หายได้ไม่ดีในผู้ที่มีระบบไหลเวียนเลือดไม่ดีหรือผู้ป่วยเบาหวาน ในกรณีนี้แนะนำให้ทำการปรึกษาแพทย์


A. ผิวหนังเป็นแผลจากการเสียดสี

B. แผลพุพอง

 

การปิดแผลพุพอง

สามารถเลือกวัสดุหลากหลายชนิดในการปิดแผลพุพองได้ การเลือกใช้ผ้าพันแผลขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เท้าและระดับการรับน้ำหนักของเท้า

สิ่งที่สามารถใช้ได้

  1. พลาสเตอร์ปิดแผลธรรมดา
  2. พลาสเตอร์ชนิด strook kleefpleister หรือพลาสเตอร์ชนิด fixatiepleister
  3. พลาสเตอร์แบบ eilandpleister (พลาสเตอร์ปิดแผลพร้อมแถบกาวรอบด้าน) 
  4. พลาสเตอร์แผลพุพองแบบไฮโดรคอลลอยด์ชนิดพิเศษ (speciale hydrocolloïd blarenpleister)

สิ่งสำคัญคือผ้าพันแผลต้องปิดแผลพุพองได้พอดี ไม่มีรอยย่น และไม่สามารถเคลื่อนไปมาได้ ยกเว้นพลาสเตอร์แผลพุพองแบบไฮโดรคอลลอยด์ (de hydrocolloïd blarenpleisters) ควรเปลี่ยนผ้าพันแผลหลังจากผ่านไปประมาณหนึ่งวัน

วัสดุที่สามารถใช้ปิดแผลพุพองได้

 

แผลถูกทิ่มตำ (Splinterverwonding)

ลักษณะของแผล

  • ในกรณีของการเกิดแผลถูกทิ่มตำ คือ วัตถุได้เจาะผิวหนังบางส่วนหรือทั้งหมดไปแล้ว สามารถมองเห็นวัตถุได้อย่างชัดเจน วัตถุทั่วไปที่สามารถทำให้เกิดแผลเสี้ยนตำได้ เช่น ไม้ โลหะ หรือเบ็ดตกปลา

คุณจะทำอย่างไร? 

  • รักษาแผลถูกทิ่มตำ เหมือนกับ แผลที่ผิวหนัง
  • วัตถุมักจะถูกนำออกจากผิวหนังด้วยแหนบในทิศทางตามยาว
  • ในบางกรณีที่ไม่สามารถเอาเสี้ยนหรือเบ็ดตกปลาออกได้ หรืออาจมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้สูง (วัตถุที่เป็นสนิมทิ่มเท้า) ให้ทำการปรึกษาแพทย์

 

A. แผลถูกทิ่มตำ (Splinterverwonding)

B. นำออกจากผิวหนังด้วยแหนบในทิศทางตามยาว

 

แผลที่ผิวหนังที่มีวัตถุติดอยู่ (Huidwond met een voorwerp in de wond) 

ลักษณะของแผล

  • มีวัตถุ (ขนาดใหญ่) ติดอยู่ในแผล
  • วัตถุขนาดเล็ก เช่น เศษแก้วหรือเสี้ยนตำเท้า

คุณจะทำอย่างไร? 

  • ไม่ควรดึงวัตถุที่ติดอยู่ในแผลออก
  • ยึดวัตถุไม่ให้มีการเคลื่อนที่ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่เนื้อเยื่อจะฉีกขาดหรือมีเลือดออกมากขึ้น
  • หากเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย (เช่น เสี้ยน) คุณอาจดึงออกได้
  • ไปพบหมอบ้านเพื่อนำวัตถุนั้นออก

A. เศษแก้วในบาดแผล

B. ให้คงวัตถุไว้ที่แผลและพันด้วยผ้าพันแผล

 

การปฐมพยาบาล

การใส่ผ้าพันแผล ชนิด snelverband

วัตถุประสงค์:

  • เพื่อปิดแผลที่ผิวหนังอย่างปลอดเชื้อ

วิธีปฏิบัติ:

  • นำผ้าพันแผล ชนิด snelverband ออกจากบรรจุภัณฑ์ (A)
  • วางส่วนที่เป็นผ้ากดแผลบนแผล (B)
  • ถือปลายผ้าพันแผลที่สั้นที่สุดด้วยมือข้างหนึ่ง (B)
  • ม้วนปลายด้านที่ยาวที่สุดรอบ ๆ ส่วนที่เป็นผ้ากดแผล (C)
  • ยึดปลายด้วยพลาสเตอร์ปิดแผลชนิด kleefpleister (D)

 

การติดแผ่นปิดแผลแบบ hechtstrips 

วัตถุประสงค์:

  • เพื่อหยุดเลือดจากแผลขนาดเล็กจากของมีคมบาด

วิธีปฏิบัติ:

  • ลอกฟิล์มป้องกันบางส่วนออกเพื่อให้สามารถหยิบออกได้ง่าย (A)
  • จับแถบที่ปลายทั้งสองข้าง (B)
  • อีกมือหนึ่ง ให้จับปลายอีกด้านของแผ่นปิดแผลโดยไม่สัมผัสผิวหนัง
  • ยึดแผ่นปิดแผลไว้แล้วด้วยนิ้วชี้และกดขอบแผลให้ชิดกันด้วยนิ้วโป้ง
  • ในขณะเดียวกัน ใช้มืออีกข้างดึงแถบออกเบาๆ แล้วติดปลายที่สองเข้ากับผิวหนัง
  • หากจำเป็น ให้ซับแผลให้แห้งอีกครั้ง และทำซ้ำขั้นตอนก่อนหน้าโดยสลับไปมาระหว่างการวางแถบด้านซ้าย และ/หรือ ด้านขวา (C)
  • เพื่อให้ปิดแผลได้อย่างแน่นขึ้น คุณสามารถติดแผ่นปิดแผลแบบกากบาทบนแถบที่ติดอยู่ได้ (D)

การเชื่อมระหว่างแผลที่ผิวหนังกับวัตถุที่ติดอยู่ในแผล

วัตถุประสงค์:

  • เพื่อปกปิด/ยึดวัตถุที่ติดอยู่ในแผลให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้

วิธีปฏิบัติ:

  • ยึดวัตถุไม่ให้มีการเคลื่อนที่ (A)
  • วางผ้ากดแผลติดกับวัตถุ (B)
  • เติมเต็มในระดับความสูงระหว่างผิวหนังกับวัตถุทั้งสองด้านด้วย ผ้ากดบาดแผล ผ้าพันแผลแบบม้วน หรือพลาสเตอร์ปิดแผล (C)
  • วางผ้าพันแผลอย่างระมัดระวัง (D)
  • ไม่ควรกดผ้าพันแผลบนวัตถุ

ความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

เมื่อไรที่คุณจะทำการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ?

บางครั้งเป็นเรื่องที่ยากที่จะประเมินว่าเมื่อไรที่คุณควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ และคุณควรโทรหาใคร ควรจะติดต่อ หมอบ้าน (huisarts) หรือ huisartsenpost หรือไปที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล หรือโทร 1-1-2 ดีไหม? ในหัวข้อนี้คุณจะได้รู้ว่า เมื่อไรและใครที่คุณควรโทรหาในกรณีที่เกิดบาดแผลที่ผิวหนัง

โทรติดต่อ หมอบ้าน หรือ huisartsenpost ในกรณีที่:

  • แผลไม่สะอาดหรือทำความสะอาดแผลได้ไม่ทั่วถึง
  • มองเห็นกระดูก กล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอื่นๆ
  • แผลที่ใบหน้า ดวงตา หรืออวัยวะเพศ
  • แผลที่เกิดจากคนหรือสัตว์กัด
  • วัตถุติดอยู่ในแผล
  • แผลถลอกที่มีสิ่งสกปรกติดอยู่
  • แผลที่หายได้ไม่ดี (เช่น จากการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่องเนื่องจากการฉายรังสีหรือการติดเชื้อ

ภาวิดา วรวุฒิพุทธพงศ์ (ม้อนต์)
เรียบเรียง