HPV VACCINE กับมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของผู้หญิงไทย การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกและมักไม่มีสัญญาณเตือนให้รู้ล่วงหน้า ซึ่งช่วงอายุที่พบการติดเชื้อมากที่สุดคือ 18-28 ปีเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะใช้เวลา 5-10 ปี จนกระทั่งกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก

ขอบคุณรูปจาก https://www.ram-hosp.co.th/upload/ck/1574395208.jpg

อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดมะเร็งปากมดลูก

  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • มีคู่นอนหลายคน
  • สูบบุหรี่หรือคนรอบข้างสูบบุหรี่

เราจะสังเกตอย่างไรว่าเราอาจจะเป็นมะเร็งปากมดลูก

  • มีตกขาวผิดปกติ
  • เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ 
  • ประจำเดือนมามาก
  • มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

เราจะป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร

  • เข้ารับการตรวจทางเซลล์วิทยา (Pap smear) ทุกๆ 5 ปี หรือตรวจหาไวรัส HPV 
  • รับวัคซีน HPV
  • ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ เช่น ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายๆคน ออกกำลังกาย กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือบริเวณที่มีการสูบบุหรี่

ขอบคุณรูปจาก https://ch9airport.com/wp-content/uploads/2019/02/15815.jpg

HPV หรือ Human Papillomavirus คืออะไร

HPV เป็นไวรัสชนิด DNA ที่ได้รับจากการสัมผัสโดยตรงจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า มีมากกว่า 140 types ซึ่งแบ่งเป็น สองกลุ่มหลักคือ

  1. High risk HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง
    ประกอบไปด้วย HPV type 16, 18 ,31, 33, 39, 45, 51, 52, 56, 58, 59, 68, 35, 66 (HPV type 16, 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกคิดเป็น 70% จากไวรัสทั้งหมด)
  2. Low risk HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง
    ตัวอย่างเช่น HPV type 6, 11 ซึ่งสองชนิดนี้สามารถทำให้เป็นโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศได้
    HPV ไม่ได้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกเพียงเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดมะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งอวัยวะเพศ

วัคซีน HPV

วัคซีน HPV ในปัจจุบันมีหลายชนิด ชนิดที่นิยมฉีดในไทยคือ GARDASIL 4 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 16, 18, 6, 11)  และชนิดที่นิยมฉีดในเนเธอร์แลนด์คือ GARDASIL 9 สายพันธุ์ ( ครอบคลุมสายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58, 6, 11) ซึ่งสายพันธุ์ทั้งหมดนี้เป็นชนิดที่มีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก

การฉีดวัคซีน HPV ในเนเธอร์แลนด์

เด็กวัย 10 ปีขึ้นไปจะได้รับจดหมายเชิญจาก GGD (uitnodiging voor de HPV-vaccinatie) โดยที่เด็กอายุ 10-15 ปี จะได้รับวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 6 เดือน

ในขณะที่เด็กวัย 15 ปีเป็นต้นไป จะได้รับวัคซีน 3 ครั้ง ฉีดแบบ 0, 2, 6 เดือนตามลำดับ
วัคซีน HPV จะฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน โดยฉีดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่มีข้อห้ามในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีน ซึ่งวัคซีน HPV สามารถป้องกันโรคได้นานกว่า 10 ปี และมีประสิทธิภาพป้องกันการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 90% โดยไม่ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำ

ขอบคุณรูปจาก https://media.nature.com/lw800/magazine-assets/d41591-022-00056-6/d41591-022-00056-6_20340448.jpg

ถ้าคุณไม่ได้ฉีดวัคซีนมาจากไทย แล้วอยากฉีดวัคซีนที่เนเธอร์แลนด์ต้องติดต่อใคร?

สำหรับผู้ที่ย้ายมาอยู่เนเอร์แลนด์แต่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หากมีอายุ 18 – 26 ปี สามารถติดต่อ GGD เมืองที่ตัวเองอาศัยอยู่เพื่อขอรับวัคซีน HPV ได้ฟรี (ขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแต่ละ GGD) ถ้าหากอายุมากกว่า 26 ปีให้ติดต่อหมอบ้านของตัวเองและต้องจ่ายเงินเอง เนื่องจากเนเธอร์แลนด์ใช้ HPV vaccine ชนิด 9 สายพันธุ์ ราคาจึงสูงกว่าชนิด 4 สายพันธุ์ โดยเข็มแรก Dose ละ  167,69 Euro Dose 2 และ 3 เข็มละ 160,18 Euro รวมค่าใช้จ่าย 488,05 Euro ซึ่งราคาใกล้เคียงกับโรงพยาบาลเอกชนในไทย

ผลข้างเคียงมีเพียงเล็กน้อย เช่น ปวด บวม แดง คลื่นไส้ เวียนศีรษะ มีไข้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อาจมีอาการรุนแรงในคนที่มีประวัติแพ้วัคซีนชนิดอื่นๆ

คนที่มีเพศสัมพันธ์แล้วยังคงสามารถฉีดวัคซีนได้ ประสิทธิภาพอาจไม่ได้สูงสุดเมื่อเทียบกับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ซึ่งวัคซีนในปัจจุบันครอบคลุมหลายสายพันธุ์ แม้จะมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อไปแล้ว แต่ยังป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์อื่นๆ ได้ หากอายุเกิน 26 ปีแล้วก็ยังสามารถฉีดวัคซีนได้เพื่อลดความเสี่ยงจากมะเร็งปากมดลูก ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส HPV

จากการศึกษาทางคลินิกพบว่าสามารถฉีดได้ แต่ต้องเว้นระยะ 1 ปีแนะนำให้ปรึกษาหมอบ้านของตนเพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความจำเป็นในการฉีดวัคซีน

ขอบคุณรูปจาก https://www.healthcareafrica.info/wp-content/uploads/2021/09/Gardasil.jpg

ในผู้หญิงที่มีลูกแล้ว หรือมีเพศสัมพันธ์มานานแล้ว จะได้ประโยชน์จากวัคซีนน้อยมาก การป้องกันที่ดีที่สุดคือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (PAP smear) เพื่อตรวจให้พบระยะก่อนมะเร็งปากมดลูกและทำการรักษา

ในเนเธอร์แลนด์ การตรวจมะเร็งปากมดลูกจะตรวจทุกๆ 5 ปี ช่วงอายุระหว่าง 30 – 60 ปี ซึ่งจะได้รับจดหมายจาก RIVM ทุกๆ 5 ปีโดยสามารถเลือกได้ระหว่างเข้ารับการตรวจกับหมอบ้าน หรือจะรับชุดตรวจ screening  มาเก็บตัวอย่างเองและส่งทางไปรษณีย์ไปตรวจ ถ้าคุณตรวจด้วยตัวเองและพบความผิดปกติจะต้องเข้าพบหมอบ้านเพื่อตรวจยืนยันอีกที ถ้าคุณไม่มีความผิดปกติ คุณจะได้รับผลตรวจ no HPV was found นั่นหมายถึงจะไม่มีมะเร็งปากมดลูกภายในระยะเวลา 10-15 ปี ในกรณีที่พบเซลล์ผิดปกติ คุณจะต้องเข้าพบสูตินรีแพทย์เพื่อทดสอบต่อไป

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล

อรพิชา เทียมผล

เรียบเรียง