ปฐมพยาบาลเบบี๋และเด็กน้อยเดอะซีรีย์ EP.2 แผลไฟไหม้

ในขณะที่เรากำลังทำกับข้าวอยู่นั้น บางทีเจ้าตัวน้อยที่กำลังอยู่ในวัยซุกซนของคุณแม่ก็อาจจะวิ่งเข้ามาในครัว เกาะแข้งเกาะขา หรือว่าสำรวจหยิบจับหม้อกระทะบนเตาที่กำลังร้อนๆ และนำมาสู่การเกิดแผลไฟไหม้ได้ เรามาเรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลกัน ถ้าเกิดว่าได้เกิดแผลไฟไหม้ขึ้นกับเจ้าตัวน้อยกันค่ะ

ก่อนที่จะรู้จัก แผลไฟไหม้ เรามาทำความรู้จัก ผิวหนัง กันก่อนค่ะ

ผิวหนังของคนเราประกอบไปด้วยชั้นต่างๆ (ชั้นหนังกำพร้า, ชั้นหนังแท้ และ ชั้นของไขมัน) และประกอบด้วย เส้นขน ต่อมต่างๆ (ต่อมไขมัน และต่อมเหงื่อ) เส้นประสาท และหลอดเลือด

รูปภาพที่ (1) ส่วนประกอบของผิวหนัง

ในกรณีที่เกิดแผลไฟไหม้จะทำให้ผิวหนังชั้นต่างๆเกิดความเสียหายได้ ไม่ว่าจะจากสารเคมีหรือว่าความร้อน เช่นไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก 

แผลไฟไหม้จะแบ่งออกได้เป็นหลายระดับ ขึ้นอยู่กับความลึกของการเกิดแผล โดยจะแยกความแตกต่างได้จาก

  • แดง บวมเล็กน้อย ปวดผิว (แผลไฟไหม้ระดับแรก หรือ แผลไฟไหม้ที่พื้นที่ (oppervlakkige verbranding))
  • มีตุ่มพอง (แผลไฟไหม้ระดับสอง หรือ แผลไฟไหม้บางส่วน (gedeeltelijke verbranding))
  • สีขาว สีเบจ/น้ำตาล สีดำ (แผลไฟไหม้ระดับสาม หรือ แผลไฟไหม้อย่างสมบูรณ์ (volledige verbranding))

แผลไฟไหม้ระดับแรก หรือ แผลไฟไหม้ที่พื้นที่ (oppervlakkige verbranding)

แผลไฟไหม้ที่ชั้นหนังกำพร้านั้นจะเกิดขึ้นบริเวณชั้นหนังกำพร้า โดยยังไม่เกิดความเสียหายต่อผิวหนัง ดังนั้นเราถือว่ายังไม่เกิดแผลไฟไหม้ แต่ว่ามีการลวกเกิดขึ้นแล้ว แผลไฟไหม้ที่พื้นที่ผิวสามารถก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมากได้ โดยผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และ/หรือ สีชมพู แห้ง และบางทีก็อาจจะมีการบวมขึ้นเล็กน้อย

รูปภาพที่ (2) แผลไฟไหม้ระดับแรก หรือ แผลไฟไหม้ที่พื้นที่ (oppervlakkige verbranding

อาการมีดังนี้

  • ไม่มีแผล ดังนั้น ผิวหนังจึงยังไม่เกิดความเสียหาย
  • อาจมีการบวมที่ผิวหนังได้ในบางครั้ง
  • ผิวหนังสีแดง และ/หรือ สีชมพู
  • ผิวหนังแห้ง
  • รู้สึกระคายเคือง ถึง เจ็บปวด

แผลไฟไหม้ระดับสอง หรือ แผลไฟไหม้บางส่วน (gedeeltelijke verbranding)

ในแผลไฟไหม้บางส่วนจะเกิดความเสียหายขึ้นที่ชั้นหนังกำพร้า หรือชั้นหนังแท้ เราสามารถสังเกตอาการได้ว่าเกิดแผลไฟไหม้บางส่วนได้โดยอาการมีดังนี้ แดง บวมเล็กน้อยและมีตุ่มพอง โดยจะมีอาการเจ็บปวดมาก

รูปภาพที่ (3) แผลไฟไหม้ระดับสอง หรือ แผลไฟไหม้บางส่วน (gedeeltelijke verbranding)

อาการมีดังนี้

  • เกิดความเสียหายต่อผิวหนัง ชั้นหนังกำพร้า ถึงชั้นหนังแท้
  • สีแดง หรือ สีชมพู
  • มีความวาว (ในบางครั้ง)
  • แฉะ
  • มีตุ่มพอง
  • เจ็บปวด

แผลไฟไหม้ระดับสาม หรือ แผลไฟไหม้อย่างสมบูรณ์ (volledige verbranding)

ในกรณีแผลไฟไหม้อย่างสมบูรณ์ ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้จะมีความเสียหายอย่างสมบูรณ์ จนกระทั่วถึงชั้นไขมันเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง แผลไฟไหม้อย่างสมบูรณ์จะมีสีขาว สีเบจ/น้ำตาล หรือสีดำ แห้ง และลักษณะเหมือนแผ่นหนัง แผลไฟไหม้อย่างสมบูรณ์จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดเนื่องจากเส้นประสาทถูกทำลายไปหมด และมักจะมีแผลไฟไหม้ระดับสองที่รู้สึกเจ็บปวดอยู่รอบๆ

รูปภาพที่ (4) แผลไฟไหม้ระดับสาม หรือ แผลไฟไหม้อย่างสมบูรณ์ (volledige verbranding)

อาการมีดังนี้

  • ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า หรือ ชั้นหนังแท้มีความเสียหายอย่างสมบูรณ์จนถึงชั้นไขมันเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
  • สีขาว สีเบจ หรือสีน้ำตาลแก่
  • แห้ง ลักษณะเหมือนแผ่นหนัง
  • ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
  • แข็งกร้าน

การจัดการดูแลแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

สิ่งแรกที่ต้องรีบไปหามา คือ น้ำ! วิธีที่ดีที่สุดคือการที่แผลไฟไหม้ได้รับการทำให้เย็นลงโดยการเปิดน้ำประปาอุ่นๆให้ไหลผ่าน ส่วนในกรณีแผลไฟไหม้ที่รุนแรง นอกจากการทำให้แผลเย็นลงแล้ว เราควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเร็วที่สุดเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงตามม

ควรทำอย่างไร?

  • โทรแจ้งไปยังหมายเลข 112 ในกรณีเกิดแผลไฟไหม้ที่รุนแรง หรือโทรไปยังหมอบ้าน ในกรณีที่ไม่มีผู้อื่นช่วยโทรแจ้งให้ได้ ให้ทำให้แผลไฟไหม้เย็นลงก่อน แล้วค่อยโทรแจ้ง 
  • ทำให้แผลไฟไหม้เย็นลง ภายในเวลา 10-20 นาที โดยเปิดน้ำประปาอุ่นๆให้ไหลผ่าน
  • ป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน (onderkoeling)
  • ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับอย่างเร็วที่สุด หากใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอยู่ ให้ถอดผ้าอ้อมสำเร็จรูปออกอย่างเร็วที่สุด
  • ปกปิดแผลไฟไหม้ด้วยผ้าพันแผลปลอดเชื้อ Metalline® ผ้าสะอาด หรือฟิล์มยึดพลาสติก
  • ไม่ทาอะไรบนแผลไฟไหม้ 
  • แจ้งแก่แพทย์ ในกรณีที่มีแผลพุพอง แผลเปิด และเกิดแผลจากไฟฟ้าหรือสารเคมี
  • เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยแผลไฟไหม้ในท่านั่งมากที่สุดหากทำได้

การทำให้แผลไฟไหม้เย็นลง

ทำแผลไฟไฟไหม้ให้เย็นลงโดยเร็วที่สุด ภายในเวลา 10-20 นาที โดยจะต้องไม่รบกวนการดำเนินการปฐมพยาบาลอื่นๆ เช่น การหยุดภาวะเลือดไหลมาก หรือการรักษาทางเดินหายใจให้โล่ง

ควรทำให้แผลไฟไหม้เย็นลงด้วยน้ำประปาที่ไหลเบา ๆ และปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมให้เด็กรู้สึกสบาย

ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับออกโดยเร็วที่สุด บางครั้งรวมถึงการตัดเสื้อผ้าออก หากใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปอยู่ควรถอดผ้าอ้อมสำเร็จรูปออกโดยเร็วที่สุด

ป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน

ควรใช้การระบายความร้อนด้วยการลวกด้วยน้ำประปาอุ่น ปรับอุณหภูมิที่ผู้ประสบภัยรู้สึกสบาย ในกรณีที่ไม่มีน้ำประปา สามารถใช้ทางเลือกอื่น เช่น ไฮโดรเจล เพื่อเป็นการระบายความร้อนสูงสุด หากในกรณีหลังจากระบายความร้อนด้วยน้ำประปาแล้ว จะไม่นำไฮโดรเจลมาใช้อีก

เพื่อป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน (onderkoeling) กว่าปกติ ในการระบายความร้อนควรทำให้เย็นแค่เฉพาะจุดที่มีแผลไฟไหม้เท่านั้น ในขณะที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายจะทำอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิของร่างกายให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่มีแนวโน้มที่จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ใช้ผ้าห่มหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อให้เด็กอบอุ่น

ให้จำไว้ว่า ‘ทำให้แผลเย็นลง ไม่ใช่ตัวเด็ก

การรักษาแผลไฟไหม้จากสารเคมี

  • หากผิวหนังสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นอันตราย ให้ทำการถอดเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องประดับที่ปนเปื้อนสารเคมีออกจากตัวเด็กโดยเร็วที่สุด หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารกัดกร่อนด้วยตัวเอง ไม่สามารถสัมผัสเสื้อผ้าเหล่านั้นได้อีก เริ่มชะล้างเสื้อผ้าที่ติดร่างกายทันที (เช่น โดยการอาบน้ำที่อาบน้ำฉุกเฉินด้วยน้ำอุ่น) แล้วพยายามถอดเสื้อผ้าออกอย่างระมัดระวัง ฯลฯ
  • ในกรณีที่เกิดแผลไฟไหม้เนื่องจากการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นอันตราย ให้ล้างผิวหนังหรือดวงตาทันทีด้วยน้ำยาล้างตา (ตามเอกสารคู่มือการใช้งาน หรือ ข้อมูลความปลอดภัย) หรือด้วยน้ำอุ่น แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่นอย่างน้อย 45 นาทีเพื่อเจือจาง หรือจนกว่าส่งต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • ป้องกันภาวะตัวเย็นเกิน (onderkoeling) หากจำเป็นให้ปรับอุณหภูมิของน้ำตามที่เด็กรู้สึกสบาย
  • พยายามหารายละเอียดของสารเคมี

กรณีสงสัยว่าหายใจลำบากหลังจากไฟไหม้ หรือ ไฟไหม้ที่บริเวณศีรษะ/ลำคอ

  • ในกรณีที่สงสัยว่าหายใจลำบากหลังจากไฟไหม้ หรือ ไฟไหม้ที่ศีรษะ/ลำคอ ให้จัดเด็กให้อยู่ในท่ากึ่งนั่ง แผลไฟไหม้เป็นวงกลม เช่น คอ แขนขา หรือลำตัว อาจรบกวนระบบไหลเวียนหรืออุดกั้นทางเดินหายใจ อย่าปล่อยให้เด็กนอนราบ ในกรณีที่หมดสติ ให้วางเด็กตะแคงข้าง (ท่าพักฟื้น (stabiele zijligging))
  • นอกจากการระบายความร้อนจากแผลไฟไหม้แล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการทำงานของอวัยวะที่สำคัญด้วย (ทางเดินหายใจ การหายใจ การไหลเวียนเลือด)

Pawida

เรียบเรียง