ข้อคิดเรื่องภาษีหลัง โควิด -19

ตั้งแต่มีโควิด-19 เข้ามา หลายคนก็ได้รับผลกระทบต่างๆมากมาย  ที่กระทบหนักเลยก็คือเรื่อง “เงินในกระเป๋าสตางค์” ของเรานั่นเอง
ที่ผ่านมาหลายคนเคยแอบบ่นเสียดายกับเงินที่ตัวเองต้องเสียภาษี แต่พอมีโควิดเข้ามามันสะท้อนให้หลายคนเห็นชัดเจนขึ้นว่า  ภาษีที่เสียไปมันไม่ได้เสียปล่าว  คนที่ทำงานเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย คุณก็ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย  และแน่นอนว่าเมื่อคุณมีรายได้สูงเสียภาษีสูงก็จริง แต่การได้รับความคุ้มครองของคุณก็สูงเช่นกัน

หัวอกลูกจ้าง(ชั่วคราว)
รัฐบาลมองเห็นแล้วว่าจากผลของโควิด-19 จะทำให้มีการถูกเลิกจ้างเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีมาตรการให้เงินช่วยเหลือแก่นายจ้าง เพื่อช่วยเหลือเรื่องค่าจ้างงานที่เรียกว่า NOW  

เงินนี้จะช่วยพยุงให้นายจ้างสามารถจ่ายเงินเดือนพนักงานต่อไปได้ในช่วงที่เกิดโควิด   แต่ดูเหมือนว่า เงิน NOW นี้จะช่วยได้เฉพาะคนที่ยังอยู่ในอายุสัญญาจ้างเท่านั้น    หลายคนที่สัญญาหมดลงในช่วงโควิดถูกนายจ้างปฎิเสธการต่อสัญญาเพราะนายจ้างส่วนใหญ่เริ่มไม่มั่นใจในเศรษฐกิจ  หรือบางคนหันไปใช้ zzpér แทนเพื่อลดภาระผูกพัน  คนที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวอย่างเราๆ เลยตกที่นั่งลำบาก “ไม่มีงาน ไม่มีเงิน”

ทำอย่างไรเมื่อนายจ้างไม่ต่อสัญญา?
สิ่งแรกที่ควรนึกถึงและต้องถามตัวเองคือ ที่ผ่านมาเราทำงานแสดงรายได้และเสียภาษีถูกต้องหรือไม่  หากเราได้ทำตามถูกต้องแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะขอใช้สิทธิ์จากเงินภาษีที่เสียไป คือการของรับเงินช่วยเหลือต่างๆ นั่นเอง

TOFA – เงินช่วยเหลือสำหรับลูกจ้างแบบชั่วคราว
ถ้าเราเป็นลูกจ้างแบบชั่วคราวที่ไม่เข้าข่ายได้รับเงินช่วยเหลือใด ๆ สามารถตรวจสอบเงื่อนไขอื่นๆ เพื่อขอเงินช่วยเหลือ Tijdelijke Overbruggingsregeling voor Flexibele Arbeidskrachten (TOFA) ได้จากทาง UWV โดยเงินนี้จะให้เป็นเงินช่วยเหลือของเดือนมีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม  2020 เป็นเงินจำนวน 1650 ยูโร(บรูโต)  โดยมีเงื่อนไขการพิจารณา คือ ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือใดๆ!

  • ต้องมีรายได้ที่ถือเป็น SV-loon1* ของเดือนกุมภาพันธ์ 2020 อย่างน้อย 400 ยูโร
  • ต้องมีรายได้ที่ถือเป็น SV-loon ของเดือนมีนาคม 2020 อย่างน้อย 1 ยูโร
  • รายได้ที่ถือเป็น SV-loon ของเดือนเมษายน 2020 ไม่เกิน 550 ยูโร
  • *สูญเสียรายได้เดือนเมษายน 2020  อย่างน้อย 50% แต่เงินเดือนที่ได้จะต้องไม่เกินเงินเดือนของเดือนกุมภาพันธ์ 2020


หมายเหตุ
1*SV-loon คือเงินเดือนที่รวมเบี้ยประกันตนในฐานะลูกจ้าง –คนทีไม่ได้จ่ายเบี้ยประกันตนสำหรับลูกจ้าง (werknemersverzekering) เช่น opting in จึงไม่มีสิทธิ์ขอเงินช่วยเหลือนี้
2* การสูญเสียรายได้นี้หมายถึง การสูญเสียรายได้จากการกักกันตัว หรือไม่ถูกเรียกมาทำงานเพราะเป็นช่วงออกมาตรการโควิค19  แต่ไม่ใช่สูญเสียรายได้จากการลาออก หรือไม่ต่อสัญญา

WW- Uitkering (เงินช่วยเหลือในกรณีตกงาน)

ถ้าเราตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง หรือไม่ได้รับการต่อสัญญา  เรามีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือ ww-uitkering จาก UWV ถ้าในสามปีที่ผ่านมาเราทำงานอย่างน้อย 26 อาทิตย์ และมีการจ่ายเบี้ยกันตนในฐานะลูกจ้าง werknemersverzekering พูดง่ายๆว่า ถ้าเราเคยทำงานเสียภาษีในฐานะลูกจ้างอย่างถูกต้องตามกฎหมายนั่นเองค่ะ  โดยคุณสามารถขอรับ ww-uitkering ได้โดยการล็อกอินด้วย DigiD ผ่านทางเว็บไซต์ของทาง UWV

Bijstand – Uitkering  (เงินช่วยเหลือเรื่องค่าครองชีพสำหรับผู้มีรายได้น้อย)
ถ้าเรามีรายได้น้อยและทรัพย์สินไม่เกินเกณฑ์  เรามีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำรงค์ชีวิตต่างๆ โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมทดแทนให้เท่ากับค่าแรงขั้นต่ำ หรือราว 1500ยูโร ต่อเดือนในกรณีที่เรามีพาร์ทเนอร์  และราว 1000 ยูโร สำหรับคนที่ไม่มีพาร์ทเนอร์ โดยเงินช่วยเหลือตัวนี้สามารถขอได้จากคะเมนเตอร์ที่ตนเขียนชื่อเข้าทะเบียนบ้าน

ในบางกรณีหรือบางคะเมนเตอ์ หากเราได้รับ bijstand-uitkering เราจะต้องบำเพ็ญประโยชน์ หรือทำงานที่คะเมนเตอร์มอบหมายด้วย

“ถ้าวันหนึ่งมีโอกาสได้ทำงานอีกครั้ง อย่าลืมเลือกทำงานที่เสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อรักษาสิทธิ์ในการได้รับความคุ้มครองนะคะ”